2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การจัดค่ายพัฒนาความสามารถทางนาฏศิลป์ไทยสู่ความเป็นเลิศ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบทางตรง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 19 กันยายน 2561 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วาสารศึกษาสาสตร์ฉบับวิจัยบีณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร  
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กองบรรณาธิการ วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN ISSN 1905-9574 
     ปีที่ 13 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-มีนาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรค่ายพัฒนาความสามารถทางนาฏศิลป์ไทยสู่ความเป็นเลิศ 2) ศึกษาความสามารถทางนาฏศิลป์ไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายภายหลังเข้าค่ายพัฒนาความสามารถทางนาฏศิลป์ไทยสู่ความเป็นเลิศ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อค่ายพัฒนาความสามารถทางนาฏศิลป์ไทยสู่ความเป็นเลิศ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น แบบกลุ่มเดียววัดผลหลังเรียน กลุ่มเป้าหมายได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ชมรมนาฏศิลป์ไทย โรงเรียนเพชรพิทยาคม จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แผนจัดการเรียนรู้หลักสูตรค่ายพัฒนาความสามารถทางนาฏศิลป์ไทยสู่ความเป็นเลิศ จำนวน 14 แผน 54 ชั่วโมง 2) แบบประเมินความสามารถทางด้านนาฏศิลป์ไทย และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักสูตรค่ายพัฒนาความสามารถทางนาฏศิลป์ไทยสู่ความเป็นเลิศ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบทางตรง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วย 1.1 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร ประกอบด้วย นักเรียนสามารถจดจำท่าทางนาฏยศัพท์พื้นฐานได้ จดจำท่ารำประกอบเพลงได้ รำตามจังหวะและเนื้อเพลงได้ด้วยตนเอง ใส่ลีลาในการรำได้ เข้าร่วมค่ายปรับพื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทยได้อย่างมีความสุข มีความรู้ความเข้าใจในพื้นฐานท่ารำ เห็นคุณค่าและเกิดภาคภูมิใจในนาฏศิลป์ไทย 1.2 เนื้อหาของหลักสูตร ประกอบด้วย การฝึกพื้นฐาน (การดัดตัว ดัดมือ ดัดแขน ประเท้า) การต่อท่ารำ การออกแบบศิลปะบนใบหน้า การฝึกแต่งหน้าที่ใช้ในการประกอบการแสดง การฝึก ยืนเครื่อง พระ-นาง 1.3 กิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย แผนจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบทางตรง จำนวน 14 แผน 54 ชั่วโมง 1.4 การวัดและประเมินผล ประกอบด้วย การประเมินความสามารถทางด้านนาฏศิลป์ไทย และการประเมินความ พึงพอใจของนักเรียน 2. ความสามารถทางนาฏศิลป์ไทยของนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 85 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ทุกคน ซึ่งผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 3. ความพึงพอใจของนักเรียนในการจัดกิจกรรมค่าย อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.17, S.D. = 0.15)  
     คำสำคัญ การจัดค่ายพัฒนาความสามารถทางนาฏศิลป์ไทยสู่ความเป็นเลิศ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้,แบบทางตรง,สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 
ผู้เขียน
595050076-6 น.ส. เกวลิน ทองแพ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0