2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ถ่านกัมมันต์ประสิทธิภาพสูงจากน้ำยางดำ (High Performance Activated Carbon Produced From Black Liquor) 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 28 กันยายน 2561 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กองบรรณาธิการ วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 
     ISBN/ISSN 1906-201x 
     ปีที่ 19 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม-กันยายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า 13 
     บทคัดย่อ น้ำยางดำเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตกระดาษที่มีลิกนินเป็นองค์ประกอบหลักซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นแหล่งเชื้อเพลิงและเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตเป็นถ่านกัมมันต์ ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาวิธีการเตรียมถ่านกัมมันต์จากลิกนินโดยวิธีการกระตุ้นทางเคมีด้วยกรดฟอสฟอริก กระบวนการเตรียมถ่านกัมมันต์จะใช้การกระตุ้นก่อนกระบวนการคาร์บอไนซ์ โดยปัจจัยในการศึกษาคือ ความเข้มข้นของกรดฟอสฟอริก 0-30%โดยปริมาตร เวลาในการกระตุ้น 0-12 ชั่วโมง และอุณหภูมิคาร์บอไนซ์ 400-500oC โดยมีการตรวจสอบหาคุณสมบัติของลิกนินและถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้ ร่วมถึงการทดสอบความสามารถในการเป็นตัวดูดซับสีเมธิลีนบลู พบว่าที่สภาวะความเข้มข้นของกรดฟอสฟอริก 30%โดยปริมาตร ที่เวลาในการกระตุ้น 8 ชั่วโมง อุณหภูมิคาร์บอไนซ์ 500oC เป็นสภาวะการเตรียมถ่านกัมมันต์ให้พื้นที่ผิวสูงสุดที่ 806 m2/g ขนาดรูพรุนเฉลี่ย 2.02 นาโนเมตร ปริมาตรรูพรุนเฉลี่ย 0.41 cm³/g เป็นรูพรุนผสม microporous และ mesoporous และผลการทดสอบประสิทธิภาพการดูดซับเมธิลีนบลู ที่ความเข้มข้น 20-100ppm ของถ่านกัมมันต์ พบว่าสามารถดูดซับได้สูงสุดถึง 100% ภายในเวลา 2 ชั่วโมง ที่ความเข้มข้น 20ppm นอกจากนี้ได้เปรียบเทียบวิธีการเตรียมถ่านกัมมันต์จากลิกนินกับงานวิจัยอื่นๆ พบว่าวิธีการกระตุ้นก่อนคาร์บอไนซ์ให้พื้นที่ผิวและประสิทธิภาพการดูดซับสูง 
     คำสำคัญ ถ่านกัมมันต์ ลิกนิน น้ำยางดำ เมธีลีนบลู 
ผู้เขียน
595040071-2 น.ส. สุธาทิพย์ ศิริปาณี [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0