2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลของการเคลือบเมล็ดพันธุ์ด้วยสารเรืองแสงต่อคุณภาพและการเรืองแสงของเมล็ดพันธุ์แตงกวาลูกผสม 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 22 พฤศจิกายน 2561 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารแก่นเกษตร  
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 47 
     ฉบับที่
     เดือน มี.ค.-เม.ย.
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การป้องกันการปลอมเมล็ดพันธุ์โดยวิธีการสร้างเอกลักษณ์ให้กับเมล็ดพันธุ์แตงกวา โดยการเคลือบร่วมกับสารเรืองแสง เป็นการทำเครื่องหมายเมล็ดพันธุ์ในรูปแบบที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาชนิดและความเข้มข้นของสารเรืองแสงที่เหมาะสมในการเคลือบเมล็ดพันธุ์แตงกวา โดยการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ และการเรืองแสงของเมล็ดพันธุ์แตงกวาหลังการเคลือบร่วมกับสารเรืองแสงชนิดต่างๆ โดยดำเนินการทดลองที่ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีทางเมล็ดพันธุ์ โรงงานปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ คณะเกษตรศาสตร์ และตรวจสอบคลื่นการเรืองแสงของเมล็ดพันธุ์ที่ห้องปฏิบัติการกลาง คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น วางแผนการทดลองแบบ CRD จำนวน 3 ซ้ำ โดยใช้ Polyvinylpyrrolidone (PVP-K30) ที่ความเข้มข้น 7 % เป็นสารเคลือบ และเคลือบร่วมกับสารเรืองแสง 3 ชนิด คือ rhodamine B, curcumin และ auramine O โดยแต่ละชนิดใช้ความเข้มข้นเท่ากันคือ 0.1%, 0.5% และ 1.0% จากการทดลองพบว่า เมล็ดพันธุ์แตงกวาที่ผ่านการเคลือบด้วยสารเรืองแสงทั้ง 3 ชนิด ไม่ทำให้ความงอก และความเร็วในการงอกของเมล็ดพันธุ์แตกต่างกัน แต่เมื่อนำไปเร่งอายุพบว่า เมล็ดพันธุ์ที่เคลือบด้วย auramine O ที่ความเข้มข้น 0.5 และ 1.0% ทำให้ความงอกและความเร็วในการงอกลดลงมากกว่าวิธีการอื่นๆ เมื่อตรวจสอบในสภาพห้องปฏิบัติการ ส่วนการเรืองแสงลดลงเพียงเล็กน้อยเมื่อตรวจสอบการเรืองแสงภายใต้แสงยูวี และจากการตรวจด้วยเครื่อง Spectrophotometer พบว่าเมล็ดพันธุ์ที่เคลือบด้วย rhodamine B, curcumin และ auramine O จะปรากฏที่ช่วงความยาวคลื่น 610, 540 และ 525 นาโนเมตร ตามลำดับ ดังนั้นจากการทดลองนี้สรุปได้ว่าการเคลือบเมล็ดพันธุ์ร่วมกับสารเรืองแสง rhodamine B ที่ความเข้มข้น 0.5% เป็นวิธีการที่เหมาะสมในการเคลือบเมล็ดพันธุ์แตงกวาเพื่อการป้องกันการปลอมแปลงเมล็ดพันธุ์ทำให้ยากต่อการเลียนแบบ และสามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ได้ 
     คำสำคัญ เมล็ดพันธุ์ปลอม ความงอก การเร่งอายุเมล็ดพันธุ์ อัลตราไวโอเลต ความยาวคลื่น 
ผู้เขียน
595030089-9 น.ส. เกศินี ถนอมขวัญ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0