2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลของการปอกเปลือกร่วมกับการใช้กรดซิตริกต่อคุณภาพของแก่นตะวัน #2 ระหว่างการเก็บรักษารักษา  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 23 สิงหาคม 2561 
วารสาร
     ชื่อวารสาร แก่นเกษตร 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN KHON KAEN AGR. J. 46 (6) : 1115-1122 (2018) 
     ปีที่ 46 
     ฉบับที่
     เดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2561 
     หน้า 1115 
     บทคัดย่อ แก่นตะวัน #2 เป็นแก่นตะวันสายพันธุ์หนึ่งจากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่มีลักษณะเด่น คือ ขนาดหัวใหญ่ รสชาติดี แขนงน้อย เหมาะใช้รับประทานสด ซึ่งปัญหาหลักของแก่นตะวันคือเมื่อนำมาตัดแต่งหรือเก็บรักษาเป็นเวลานานผิวของแก่นตะวันจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ทำให้ไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ดังนั้นงานวิจัยนี ้จึงมุ่งเน้นศึกษาการปอกเปลือกร่วมกับการใช้กรดซิตริกที่ความเข้มข้น 0 (Control), 0.5, 1 และ2% เก็บรักษาภายใต้ถุงซิป LDPE (Low density polyethylene) ที่อุณหภูมิ 8±2 °C ความชื ้นสัมพัทธ์ 80±5% เป็นระยะเวลา 50 วัน ผลการศึกษาพบว่าการปอกเปลือกมีผลต่อค่าดัชนีการเกิดสีน้ำตาล เปอร์เซ็นต์การสูญเสีย น้ำหนัก ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ในน้ำ ปริมาณอินนูลิน และปริมาณฟี นอลิกทั ้งหมด ส่วนการใช้กรดซิตริก ทุกความเข้มข้นมีผลเล็กน้อยต่อค่าคุณภาพของแก่นตะวัน โดยการใช้กรดซิตริกที่ 0.5% ร่วมกับการปอกเปลือกทำให้แก่นตะวันมีคุณภาพดีที่สุดที่อายุการเก็บรักษา 30 วัน เนื่องจากมีการสูญเสียน้ำหนัก และดัชนีการเกิดสีน้ำตาล อยู่ในช่วงที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามไม่พบปฏิกิริยาสัมพันธ์ร่วมระหว่างการปอกเปลือกและการใช้กรดซิตริก ต่อคุณภาพของแก่นตะวัน  
     คำสำคัญ LDPE, อินนูลิน, ฟี นอลลิก, ดัชนีการเกิดสีน้ำตาล 
ผู้เขียน
595030068-7 น.ส. เมวิกา ไชยฤทธิ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0