2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดเชิงสถานการณ์ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้วยการสอบบนคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 21 กุมภาพันธ์ 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การวัดผล ประเมินผลและวิจัยทางการศึกษาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 27 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยทักษิณ 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมบีพี สมิหลาบีช สงขลา 
     จังหวัด/รัฐ สงขลา 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 20 กุมภาพันธ์ 2562 
     ถึง 22 กุมภาพันธ์ 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 188 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสถานการณ์ในข้อสอบจากแบบวัดเชิงสถานการณ์ด้านคุณธรรมจริยธรรมระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นการสอบแบบใช้กระดาษและการสอบด้วยคอมพิวเตอร์ และ 2) เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดเชิงสถานการณ์ด้านคุณธรรมจริยธรรมระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโดยการสอบแบบใช้กระดาษ (Paper base testing) กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 550 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi–stage Random Sampling) เครื่องมือในการวิจัยนี้คือ แบบวัดเชิงสถานการณ์ด้านคุณธรรมจริยธรรม จำนวน 36 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาสถานการณ์ในข้อสอบจากแบบวัดเชิงสถานการณ์ด้านคุณธรรมจริยธรรม ผู้วิจัยปรับภาษาและสถานการณ์ในแต่ละข้อคำถามเพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจตรงกันและเป็นคำที่คุ้นเคย และปรับสถานการณ์ให้มีความชัดเจนใกล้เคียงสถานการณ์ที่นักเรียนมีโอกาสได้เจอ เพื่อนำแบบวัดเชิงสถานการณ์โดยการสอบแบบใช้กระดาษ ไปพัฒนาเป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์โดยการสอบด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer based testing) ด้วยการใช้แอนิเมชัน (Animation) 2) ผลการตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดเชิงสถานการณ์โดยการสอบแบบใช้กระดาษ พบว่าค่าอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง 0.190 ถึง 0.765 ผลการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง พบว่า แบบวัดเชิงสถานการณ์ด้านคุณธรรมจริยธรรม ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ความกตัญญูกตเวที (Gratitude) ความอดทน (Tolerance) การมีจิตสำนึกสาธารณะ (Public consciousness) การมีจริยธรรมในการทำงาน (Work Ethics) และความซื่อสัตย์ (Honest) เมื่อพิจารณาค่าดัชนีความสอดคล้องของโมเดลพบว่า 2=122.826 df = 101 p-value = 0.0690 RMSEA=0.021 SRMR= 0.021 CFI= 0.995 TLI = 0.993 นั่นหมายความว่าโมเดลการวัดคุณธรรมจริยธรรมมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ นั่นคือแบบเชิงสถานการณ์ด้านคุณธรรมจริยธรรม (Virtue Ethics) มีความตรงเชิงโครงสร้าง 
ผู้เขียน
605050071-7 น.ส. ชลธิชา แก้วหย่อง [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0