2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การเปรียบเทียบการตรวจให้คะแนนของแบบทดสอบอัตนัยภายใต้ระดับความลึกความเข้าใจต่างกัน: การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิง  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 21 กุมภาพันธ์ 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การวัดผล ประเมินผล และวิจัยสัมพันธ์ แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 27 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยทักษิณ 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมบีพี สมิหลาบีช สงขลา 
     จังหวัด/รัฐ สงขลา 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 20 กุมภาพันธ์ 2562 
     ถึง 22 กุมภาพันธ์ 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 96-107 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประมาณค่าความแปรปรวนของของข้อสอบ และผู้ตรวจ 2) เพื่อเปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิง (G-Coefficient) ของแบบทดสอบอัตนัยภายใต้รูปแบบการตรวจให้คะแนนต่างกัน คุณลักษณะของข้อสอบ และจำนวนผู้ตรวจต่างกัน โดยคุณลักษณะของข้อสอบแบ่งตามระดับความลึกความเข้าใจเป็น 2 แบบคือ ข้อสอบที่มีความลึกความเข้าใจระดับสูง และข้อสอบความลึกความเข้าใจระดับต่ำ รูปแบบการตรวจให้คะแนนผู้วิจัยได้ออกแบบเป็น 3 รูปแบบคือ [P×I×R] [I×(P:R)] และ [P×(I:R)] ตามทฤษฎีการสรุปอ้างอิง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 60 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ คะแนนแบบทดสอบอัตนัยวัดการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ มีค่าความยากตั้งแต่ 0.406 - 0.589 และค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.478 - 0.867 โปรแกรมในการิเคราะห์ใช้โปรแกรม EduG ผลการวิจัย พบว่า 1. แหล่งความแปรปรวนของการตรวจให้คะแนนใน 3 รูปแบบ พบว่า รูปแบบการตรวจให้คะแนนแบบ P×I×R แหล่งความแปรปรวนที่มีค่ามากสุดคือ PI และแหล่งความแปรปรวนที่มีค่าน้อยสุดคือ PR และรูปแบบการตรวจให้คะแนนแบบ P×(I:R) แหล่งความแปรปรวนที่มีค่ามากสุดคือ P และแหล่งความแปรปรวนที่มีค่าน้อยสุดคือ I:R รูปแบบการตรวจให้คะแนนแบบ I×(P:R) แหล่งความแปรปรวนที่มีค่ามากสุดคือ PI:R ข้อสอบที่มีความลึกความเข้าใจระดับสูงแหล่งความแปรปรวนที่มีค่าน้อยสุดคือ IR และข้อสอบที่มีความลึกความเข้าใจระดับต่ำแหล่งความแปรปรวนที่มีค่าน้อยสุดคือ R 2. รูปแบบการตรวจให้คะแนนที่มีค่าประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงสูงสุดคือรูปแบบ P×(I:R) ทั้งข้อสอบที่มีความลึกความเข้าใจระดับสูงและต่ำ และเมื่อพิจารณาระดับความลึกความเข้าใจ พบว่าข้อสอบที่มีความลึกความเข้าใจระดับต่ำมีค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงสูงขึ้นเมื่อมีจำนวนข้อสอบ 4 ข้อขึ้นไป และข้อสอบระดับความลึกความเข้าใจสูงมีค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงสูงขึ้นเมื่อมีจำนวนข้อสอบ 3 ข้อ  
ผู้เขียน
605050073-3 นาง นิภาพร ฉันสิมา [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0