2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การจัดซื้อยาร่วมระดับเขต: กรณีศึกษา เขตบริการสุขภาพแห่งหนึ่ง 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 15 มีนาคม 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 20 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 15 มีนาคม 2562 
     ถึง 15 มีนาคม 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 20 
     Issue (เล่มที่) 20 
     หน้าที่พิมพ์ 1095-1110 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายให้มีการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่มีการใช้สูงร่วมกัน ซึ่งได้มีการดำเนินการอย่างแพร่หลายทั้งในระดับจังหวัด และระดับเขต ทั้งนี้ วิธีการดำเนินการ ผลการจัดซื้อยาร่วม และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ ถูกนำเสนออย่างจำกัด วัตถุประสงค์: อธิบายวิธีการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต วิเคราะห์ผลการจัดซื้อยาร่วม และระบุปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต วิธีดำเนินการวิจัย: 1) สัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต จำนวน 19 ราย 2) ทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อยา 3) วิเคราะห์ผลการจัดซื้อยาร่วม ปีงบประมาณ 2556 – 2559 ผลการวิจัย: 1) เขตสุขภาพที่ศึกษาดำเนินการจัดซื้อยาร่วม 2 รูปแบบ คือ การประกวดราคา และการต่อรองราคา (สืบราคา) ซึ่งแนวทางหลักที่มีการดำเนินการ คือการประกวดราคา โดยมีขั้นตอน ดังนี้ การแต่งตั้งคณะกรรมการและการวางแผนการดำเนินงาน, การคัดเลือกรายการยาและการกำหนดปริมาณ, การกำหนดวงเงินในการจัดซื้อยา และราคาตั้ง, การกำหนดเงื่อนไขและคุณลักษณะเฉพาะ และการกำหนดเกณฑ์คัดเลือกผู้ชนะการเสนอราคา, กระบวนการประกวดราคา, การบริหารสัญญา และการกำกับติดตาม 2) ผลการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต พบว่า ในปีงบประมาณ 2556 – 2559 เขตสุขภาพที่ศึกษามีการจัดซื้อยาร่วมคิดเป็นร้อยละ 18.33, 33.06, 35.43, และ 41.81 ของมูลค่ายาที่จัดซื้อทั้งหมด ตามลำดับ ซึ่งบรรลุตามตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข มูลค่ายาที่ประหยัดได้คิดเป็นร้อยละ 17.03, 30.25, 24.56 และ 40.10 ตามลำดับ การจัดซื้อยาตามกลุ่มการออกฤทธิ์ พบว่า กลุ่มยาที่มีการจัดซื้อร่วมมากที่สุดในปี 2556 – 2559 คือ กลุ่มยาที่เกี่ยวกับเลือดและอวัยวะสร้างเลือด ยาต้านการติดเชื้อสำหรับทั่วร่างกาย และยาเกี่ยวกับระบบประสาท 3) ผลกระทบในการจัดซื้อยาร่วมระดับเขตมี 6 ประเด็น ได้แก่ การส่งต่อผู้ป่วยระหว่างหน่วยบริการ คุณภาพการให้บริการแก่ผู้ป่วย ภาระงาน ความโปร่งใส การให้บริการของผู้ค้า และการเติบโตของอุตสาหกรรม 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดซื้อยาร่วม ได้แก่ การมีผู้รับผิดชอบหลัก และคณะทำงานที่มีประสบการณ์, การยอมรับจากเครือข่ายการดำเนินงานแต่ละระดับ และระบบสารสนเทศ ซึ่งงานวิจัยนี้ได้เปรียบเทียบการดำเนินการในปัจจุบัน กับแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดซื้อยาขององค์การอนามัยโลก พบว่า ประเด็นการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส และประเด็นการเงินและการแข่งขันทางการตลาด มีการดำเนินงานส่วนใหญ่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่ดี ส่วนการคัดเลือกรายการยาและกำหนดปริมาณที่จะซื้อ และการเลือกผู้ค้าและการประกันคุณภาพยา พบการดำเนินงานบางประเด็นไม่เป็นไปตามแนวปฏิบัติที่ดี โดยมีข้อเสนอหลักในการพัฒนา คือ วิธีการคัดเลือกผู้ค้าสำหรับกลุ่มยาที่มีผู้จำหน่ายรายเดียว ควรใช้วิธีประกวดราคาตามกลุ่มการรักษา หรือมีการพิจารณาต้นทุน-ประสิทธิผลของยา โดยใช้ value-based purchasing, ยาที่มีผู้จำหน่ายน้อยราย ควรมีการจัดซื้อยาร่วมโดยการทำสัญญากับผู้ค้ามากกว่า 1 ราย, รายการยาที่มียาชื่อสามัญแข่งขันในตลาดหลายราย ควรให้โรงพยาบาลการจัดซื้อเอง ซึ่งควบคุมด้วยราคากลาง  
ผู้เขียน
565150056-2 น.ส. ณัฐวดี ธรเสนา [ผู้เขียนหลัก]
คณะเภสัชศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0