2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ พัฒนาการองวงโปงลางสว่างแดนดินศิลป์อีสาน 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 13 กรกฎาคม 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม ศิลปกรรมวิจัย ครั้งที่ 4 อัตลักษณ์ศิลปกรรมจากรากสู่โลก 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม ศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม ณ โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนแวนชั่น เซ็นเตอร์ 
     จังหวัด/รัฐ  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 13 กรกฎาคม 2561 
     ถึง 14 กรกฎาคม 2561 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 1177-1181 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การศึกษาพัฒนาการของวงโปงลางสว่างแดนดินศิลป์อีสานเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ของวงโปงลางสว่างแดนดินศิลป์อีสาน โรงเรียนสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาพัฒนาการ ประกอบด้วย พัฒนาการในด้านดนตรี การแสดง และการแต่งกาย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบสังเกต สัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม โดยมีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงที่มีความเกี่ยวข้องกับพัฒนาการของวงโปงลางสว่างแดนดินฯ ประกอบด้วย ผู้รู้ ผู้ปฏิบัติ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 15 คน จากนั้นจึงนำข้อมูลภาคสนามมาตรวจสอบแบบสามเส้าเพื่อความถูกต้องของข้อมูลในด้านบุคคล สถานที่ และเวลา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ของพาร์สัน และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) ผลการวิจัยพบว่า วงโปงลางสว่างแดนดินศิลป์อีสานมีการพัฒนาโดยแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วงเวลา ได้แก่ 1) ช่วงก่อตั้ง 2) ช่วงพัฒนา 3) ช่วงเข้าสู่การประกวด โดยในช่วงก่อตั้งได้เริ่มมาจากการศึกษารูปแบบวงโปงลางจากสถาบันต่างๆเพื่อนำมาเป็นแนวทาง โดยยังไม่มีการสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ มีรูปแบบของดนตรี การแสดง และเครื่องแต่งกายตามแบบต้นฉบับ ช่วงพัฒนาจึงเริ่มมีการการนำเครื่องดนตรีชนิดใหม่เข้ามาใช้ในวงโปงลางรวมไปถึงการสร้างสรรค์ลายบรรเลงและสร้างสรรค์การแสดงขึ้นใหม่โดยมีแนวคิดจากการนำเอาอัตลักษณ์ท้องถิ่นของตนเอง มีการสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายให้เข้ากับการแสดงที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ในช่วงเข้าสู่การประกวดเป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นยุคที่มีการสร้างสรรค์ลายบรรเลง การแสดง และการแต่งกาย เพื่อการประกวดแข่งขันตามเวทีต่างๆ จึงมีการพัฒนาเครื่องดนตรีให้มีความไพเราะมากยิ่งขึ้น มีการสร้างสรรค์ลายบรรเลงและการแสดงชุดต่างๆขึ้นมากมายเพื่อใช้ในการแข่งขัน รวมไปถึงการนำเอาผ้าไหมมาใช้ตัดเย็บเครื่องแต่งกายเพื่อให้ดูสวยงามมากยิ่งขึ้น ซึ่งพัฒนาการแต่ละช่วงสอดคล้องกับทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ของพาร์สัน คือ 1) Adaptation คือการปรับตัว จำต้องเป็นปรับให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง 2) Goal Attainment คือการบรรลุเป้าหมาย ระบบจะต้องกำหนดและมีตอบสนองต่อเป้าหมายหลัก โดยแต่ละช่วงเวลามีความเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับแผนและนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ เช่น นโยบายการจัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64 ปีการศึกษา 2557 ซึ่งในนโยบายของการจัดงานศิลปหัตกรรมมีการจัดการแข่งขันวงโปงลางและมีการปรับเปลี่ยนเกณฑ์การแข่งขันอยู่เสมอ ในช่วงยุคของการแข่งขันจึงได้มีการสร้างสรรค์ลายบรรเลงและชุดการแสดงต่างๆให้เหมาะสมกับเกณฑ์การแข่งขัน  
ผู้เขียน
595220007-9 น.ส. วรัญญา เจริญเหล่า [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0