2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลการตรวจให้คะแนนของแบบสอบอัตนัย เมื่อกลุ่มผู้ตรวจและรูปแบบการตรวจที่ต่างกัน The Results of Scoring of Essay Test by Different Groups of Rater and Scoring Designs  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 21 กุมภาพันธ์ 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมสัมมนาวิชาการการวัดผล ประเมินผลและวิจัยทางการศึกษาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 27 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(วิทยาเขตปัตตานี) 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมบีพี สมิหลาบีช สงขลา  
     จังหวัด/รัฐ จังหวัดสงขลา 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 20 กุมภาพันธ์ 2562 
     ถึง 22 กุมภาพันธ์ 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2562 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 51 
     Editors/edition/publisher สาขาวิชาการประเมินผลและวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ 
     บทคัดย่อ ผลการตรวจให้คะแนนของแบบสอบอัตนัย เมื่อกลุ่มผู้ตรวจและรูปแบบการตรวจที่ต่างกัน The Results of Scoring of Essay Test by Different Groups of Rater and Scoring Designs ดรุณี อภัยกาวี1 Darunee Apaikawee1 ประกฤติยา ทักษิโณ2 Prakittiya Tuksino2 บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะการตรวจให้คะแนนของผู้ตรวจที่มีรูปแบบการตรวจ ให้คะแนนต่างกัน และ 2) เพื่อศึกษาความเที่ยงระหว่างผู้ตรวจ ค่าความแปรปรวนขององค์ประกอบและ ค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงของคะแนนแบบสอบอัตนัย เมื่อกลุ่มผู้ตรวจและรูปแบบการตรวจให้คะแนนต่างกันกลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้ตอบข้อสอบ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 32 คน และ กลุ่มที่ 2 ผู้ตรวจให้คะแนนเป็นนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบอัตนัยการคิดทางคณิตศาสตร์ จำนวน 3 ข้อ ประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผล การวัด (Generalizability Theory) และโมเดลหลายองค์ประกอบของราส์ช (Many Facet Rasch Model) ผลการวิจัยพบว่า 1. ลักษณะการให้คะแนนของผู้ตรวจ พบว่า กลุ่มผู้ตรวจส่วนใหญ่ให้คะแนนที่ไม่มีแบบแผน จำนวน 9 คน (ผู้ตรวจคนที่ 4 , 6 , 8 , 9 , 11 , 12 , 13 , 14 และ 15) และผู้ตรวจที่มีแนวโน้มให้คะแนนค่ากลาง จำนวน 3 คน (ผู้ตรวจคนที่ 3 , 5 และ 7) และผู้ตรวจที่ผู้ตรวจที่มีความแม่นยำในการให้คะแนน จำนวน 3 คน (ผู้ตรวจ คนที่ 1 , 2 และ 10) เมื่อพิจารณาความเที่ยงระหว่างผู้ตรวจให้คะแนนข้อสอบ ทั้ง 3 ข้อ ถือว่ามีความสอดคล้องอยู่ในระดับดี (ICC =0.90) 2. ค่าองค์ประกอบของความแปรปรวน จากรูปแบบการตรวจข้อสอบทุกข้อของผู้สอบทุกคน [P x I x R ] พบว่า แหล่งความแปรปรวนที่มากที่สุด คือ แหล่งปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอบกับผู้ตรวจ (PR) และแหล่งความแปรปรวนที่น้อยที่สุด คือ แหล่งผู้ตรวจ (R) ทุกลักษณะกลุ่มผู้ตรวจ และ รูปแบบการตรวจข้อสอบบางข้อของผู้สอบทุกคน [P x (I : R)] พบว่า แหล่งความแปรปรวนที่มากที่สุด คือ แหล่งปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอบกับผู้ตรวจ (PR) รองลงมาคือ แหล่งผู้ตรวจ(R) 3. ค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิง (ρ_Rel^2) จากรูปแบบการตรวจข้อสอบบางข้อของผู้สอบทุกคน [P x (I : R)] มีค่าสูงกว่ารูปแบบการตรวจข้อสอบทุกข้อของผู้สอบทุกคน [P x I x R] คำสำคัญ : ทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด , ลักษณะการตรวจให้คะแนน , แบบสอบอัตนัย 1 นักศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
ผู้เขียน
597050014-2 น.ส. ดรุณี อภัยกาวี [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0