2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก (Graphic Organizers Technique) รายวิชา ส 21102 สังคมศึกษา 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 22 มีนาคม 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการและการนำสนองานวิจัยทางการศึกษา "การสร้างสื่อนวัตกรรมอินโฟกราฟิคเพื่อเสริมสร้างแนวคิดประชาธิปไตยในโรงเรียนยุค 4.0"  
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะศึกษาศาสตร์  
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 21 มีนาคม 2562 
     ถึง 22 มีนาคม 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2562 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 135 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก (Graphic Organizers Technique) รายวิชา ส 21102 สังคมศึกษา 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยกำหนดเกณฑ์นักเรียนร้อยละ 70 มีคะแนนความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ร้อยละ 70 ขึ้นไป 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก (Graphic Organizers Technique) รายวิชา ส 21102 สังคมศึกษา 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยกำหนดเกณฑ์นักเรียนร้อยละ 70 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 33 คน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติการ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก (Graphic Organizers Technique) จำนวน 9 แผน 18 ชั่วโมง 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลปฏิบัติการ ได้แก่ แบบบันทึกผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ท้ายวงจร และแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ท้ายวงจร และ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 27 คน คิดเป็นร้อยละ 81.82 ของนักเรียนจำนวนทั้งหมด 33 คน และมีคะแนนเฉลี่ย 47.27 จากคะแนนเต็ม 60 คิดเป็นร้อยละ 78.78 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือร้อยละ 70 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 25 คน คิดเป็นร้อยละ 75.76 ของนักเรียนทั้งหมด 33 คน และมีคะแนนเฉลี่ย 22.00 จากคะแนนเต็ม 30 คิดเป็นร้อยละ 73.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือร้อยละ 70 
ผู้เขียน
605050059-7 น.ส. ธัญพัฒน์ แรมลี [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0