2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ อิทธิพลของความเครียดเนื่องจากความร้อนต่อลักษณะการเจริญเติบโตในไก่พื้นเมืองไทย (พันธุ์ประดู่หางดำ) 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 22 มิถุนายน 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการสัตวศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 6 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม 
     สถานที่จัดประชุม ณ สำนักงานส่งเสริมและฝึกอบรมกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม 
     จังหวัด/รัฐ นครปฐม 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 22 มิถุนายน 2560 
     ถึง 23 มิถุนายน 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 48 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 309-316 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุอิทธิพลของความเครียดเนื่องจากความร้อนที่มีผลต่อการ เจริญเติบโตของไก่พื้นเมือง หาจุดวิกฤติที่ทำให้ไก่เกิดความเครียดเนื่องจากความร้อน และเปรียบเทียบ ความแตกต่างในการตอบสนองต่อความเครียดเนื่องจากความร้อนในไก่พื้นเมืองแต่ละเพศ โดยใช้ข้อมูล น้ำหนักตัวที่อายุ 12 สัปดาห์ของไก่ประดู่หางด า จากเครือข่ายวิจัยและพัฒนาด้านการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (ไก่พื้นเมือง) คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำมาประเมินร่วมกับข้อมูลสภาพอากาศจากกรม อุตุนิยมวิทยาประเทศไทย สถานีอุตุนิยมวิทยาขอนแก่น ในปี พ.ศ. 2554 ถึง พ.ศ. 2555 ใช้ชุดคำสั่ง Proc Corr และชุดคำสั่ง Proc GLM เพื่อหาความสัมพันธ์และเปรียบเทียบน้ำหนักตัวไก่ที่เลี้ยงในดัชนีอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ (THI) ต่างกัน ในรูปแบบ LSMeans จากผลการศึกษาพบว่า ไก่ทั้งเพศเมียและเพศผู้ ได้รับผลกระทบจากความเครียดเนื่องจากความร้อน โดยไก่เพศเมียและเพศผู้ที่เลี้ยงที่ THI 78 และ THI 79 มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าไก่ที่เลี้ยงที่ THI 77 และมีค่าความสัมพันธ์กับลักษณะการเจริญเติบโตสูงสุด (r = -0.16; P< 0.001) เมื่อทำการเปรียบเทียบค่าความแม่นยำ (R2) ของค่า THI threshold of heat stress กับลักษณะน้ำหนักตัวที่อายุ 12 สัปดาห์ ระหว่าง THI 77 ถึง 79 พบว่า THI 77 มีความแม่นยำ สูงสุด (R2 = 0.036) จึงสรุปได้ว่าภาวะความเครียดเนื่องจากความร้อนมีผลต่อการเจริญเติบโตของไก่ พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางด า และที่ THI 77 เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ไก่เกิดความเครียดเนื่องจากความร้อนที่ทำให้การเจริญเติบโตของไก่เพศผู้และเพศเมียลดลง จึงสามารถนำค่าดังกล่าวไปใช้เป็นเกณฑ์ในการวาง แผนการจัดการและการปรับปรุงพันธุ์ไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำต่อไป  
ผู้เขียน
585030011-5 น.ส. สุภาวรรณ เวียงนาค [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ ไม่เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0