2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดกาฬสินธุ์ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 5 กรกฎาคม 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สสจ.กาฬสินธุ์ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 13 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม - เมษายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ การวิจัยเชิงพรรณนาแบบแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดกาฬสินธุ์ ประชากรที่ศึกษาคือ ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 2,383 คน สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 242 คน และสนทนากลุ่มจำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม และแนวทางในการสนทนากลุ่ม ซึ่งแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน พบว่าทุกข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้อง มากกว่า 0.50 วิเคราะห์หาความเที่ยงของแบบสอบถาม ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาช 0.98 เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 26 เมษายน ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2562 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปในการหาค่าสถิติเชิงพรรณนา และ สถิติอนุมาน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ระดับแรงจูงใจ ปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน และ ระดับการปฏิบัติงานของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดกาฬสินธุ์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.89 (S.D.= 0.45), 3.95 (S.D.= 0.47), 3.84 (S.D.= 0.48) และ 3.84 (S.D.= 0.47) ตามลำดับ ภาพรวมของแรงจูงใจ ปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุนมีความสัมพันธ์ระดับสูงกับการปฏิบัติงานของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.771, p-value < 0.001, r = 0.717, p-value < 0.001 และ r = 0.733, p-value < 0.001) ตามลำดับ ทั้งนี้ ปัจจัยค้ำจุนด้านความมั่นคงในการปฏิบัติงาน ปัจจัยจูงใจด้านความรับผิดชอบ ปัจจัยจูงใจด้านความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน ปัจจัยจูงใจด้านการยอมรับนับถือ และปัจจัยค้ำจุนด้านการปกครองบังคับบัญชา ซึ่งทั้ง 5 ตัวแปร สามารถร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติงานของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ได้ร้อยละ 59.6 (R2 = 0.596, p-value < 0.001) ปัญหาอุปสรรคที่พบส่วนใหญ่คือ ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงขาดความมั่นใจในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติงานดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ควรมีการพัฒนาศักยภาพผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงอย่างต่อเนื่อง และสนับสนุนให้มีการศึกษาดูงาน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรม นอกพื้นที่ 
     คำสำคัญ แรงจูงใจ, การดูแลผู้สูงอายุ, ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 
ผู้เขียน
605110018-8 นาย ทวิช วงค์ไชยชาญ [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0