2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การศึกษานำร่องเรื่อง การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชั่นต่อการจัดการตนเองในผู้ป่วยหลังผ่าตัดลิ้นหัวใจ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 2 สิงหาคม 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 12 
     ฉบับที่
     เดือน กันยายน-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์: เพื่อการศึกษาทดลองนำร่องของการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชั่นเพื่อ ช่วยผู้ป่วยหลังผ่าตัดลิ้นหัวใจในการจัดการตนเองเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน รูปแบบการวิจัย: การศึกษานำร่องเพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการใช้โมบายแอปพลิเคชั่น เพื่อให้ข้อมูลความรู้ และระบบแจ้งเตือนให้กับผู้ป่วยหลังผ่าตัดลิ้นหัวใจ วิธีดำเนินการวิจัย: การวิจัยเป็นการศึกษานำร่อง เพื่อพัฒนาโมบายแอปพลิเคชั่นที่ช่วยผู้ป่วยหลังผ่าตัดลิ้นหัวใจใน การจัดการตนเองเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน บนโทรศัพท์มือถือระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ โดยมีการนำแอปพลิเคชั่นที่ประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับโรค การรักษา ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบหลังผ่าตัด อาการที่อาจพบหลังผ่าตัดที่ไม่เป็นอันตราย การดูแลตนเองหลังผ่าตัด การประเมินตนเองรายวัน กราฟที่แสดงค่าการแข็งตัวของเลือด การแจ้งเตือนการรับประทานยา และการแจ้งเตือนวันนัด (ข้อความ) ไปทดลองใช้ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดลิ้นหัวใจที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 5 คน และพยาบาลที่ให้การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดลิ้นหัวใจ จำนวน 5 ราย โดยหลังการใช้โมบายแอปพลิเคชั่น กลุ่มตัวอย่างจะต้องมีการประเมินความพึงพอใจ 4 ระดับ หลังการใช้โมบายแอปพลิเคชั่น ซึ่งเป็นแบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.80 ที่ประกอบด้วย ความสวยงามในการออกแบบ ด้านข้อมูล ด้านการทำงานของระบบ และด้านความทันสมัยสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ หลังจากนั้นนำผลที่ได้ ข้อเสนอจากกลุ่มตัวอย่างไปปรับปรุงโมบายแอปพลิเคชั่นให้เหมาะสมกับความต้องการของกลุ่มตัวอย่างต่อไป ผลการศึกษา และข้อเสนอแนะ: จากการนำโมบายแอปพลิเคชั่นไปทดลองใช้ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดลิ้นหัวใจ และ พยาบาลที่ให้การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดลิ้นหัวใจ จำนวน 10 ราย พบความพึงพอใจของผู้ใช้ในภาพรวมได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.7 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.48 ซึ่งถือว่าแอปพลิเคชั่นนี้มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ข้อเสนอแนะจากกลุ่มตัวอย่างคือ ในอนาคตควรมีการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชั่นนี้ให้สามารถใช้ในระบบปฏิบัติทุกระบบ และเมื่อผู้ใช้ประเมินตนเองพบว่ามีอาการผิดปกติ หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดสามารถเชื่อมต่อมาที่สถานบริการสุขภาพ เพื่อให้สามารถช่วย และสนับสนุนผู้ใช้ในเรื่องของการจัดการตนเองได้ทันที  
     คำสำคัญ โมบายแอปพลิเคชั่น ผู้ป่วยหลังผ่าตัดลิ้นหัวใจ การจัดการตนเอง 
ผู้เขียน
585060006-0 น.ส. บุญประเสริฐ แสงวิจิตรประชา [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0