2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title รูปแบบและภาพสะท้อนทางดนตรีวงดิอิมพอสสิเบิลส์ THE MUSICAL FORM AND IMAGE REFLECTION OF THE IMPOSSIBLES BAND  
Date of Distribution 13 July 2019 
Conference
     Title of the Conference ศิลปกรรมวิจัยครั้งที่5 "ศิลปะสร้างโลก" 
     Organiser คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Conference Place โรงแรมอวานี จ.ขอนแก่น 
     Province/State  
     Conference Date 12 July 2019 
     To 13 July 2019 
Proceeding Paper
     Volume ปีที่ 5 
     Issue
     Page 825-836 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract งานวิจัยเรื่องนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาถึง ประวัติ ผลงาน และพัฒนาการทางดนตรีของวงดิอิมพอสสิเบิลส์์ อีกทั้งศึกษารูปแบบทางดนตรีของวงดิอิมพอสสิเบิลส์ โดยอธิบายถึงลักษณะการประพันธ์เนื้อร้องและเรียบเรียงดนตรี โดยกกระบวนการสังคีตลักษณ์วิเคราะห์ ซึ่งแสดงออกให้เห็นถึงรูปแบบทางดนตรีมีที่ความเป็นลักษณะเฉพาะทางดนตรีวงดิอิมพอสสิเบิลส์ ตลอดทั้งยังศึกษาถึงภาพสะท้อนทางดนตรีของวงดิอิมพอสสิเบิลส์โดยอธิบายถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นโดยถ่ายทอดให้เห็นถึงสภาพทางสังคม รูปแบบวัฒนธรรม วิถีชีวิต และบริบทที่เกี่ยวข้องกับบทเพลงและดนตรีของวงดิอิมพอสสิเบิลส์ ผลการวิจัยพบดังนี้ วงดิอิมพอสสิเบิลส์ เป็นวงดนตรีที่สร้างปรากฏการณ์ทางดนตรีสมัยใหม่ในเมืองไทย มีพัฒนาการทางดนตรีอย่างต่อเนื่อง แบ่งได้เป็นสามช่วงเวลา คือ ยุคเริ่มต้น ยุครุ่งเรือง และยุคสุดท้าย ซึ่งในแต่ละช่วงเวลาก็มีพัฒนาการทำงานและสร้างสรรค์ผลงานทางดนตรีอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับอิทธิพลทางดนตรีจากวงดนตรีฝั่งอเมริกาและยุโรปอยู่หลายวงด้วยกัน ได้แก่ The Beatles, The Rolling Stone, Elvis Psesley, Ray Conniff, Frank Sinata, Engelbert Humberdinck, Perry Como, Dean Martin และ Evrery Brother เป็นต้น ซึ่งวงดนตรีเหล่านี้ไม่เพียงแต่ส่งอิทธิพลทางดนตรีแก่วงดิอิมพอสสิเบิลส์เท่านั้น หากแต่ยังส่งอิทธิพลทางดนตรีต่อการเปลี่ยนแปลงทางดนตรีเข้าสู่ยุคดนตรีสมัยใหม่ของโลกด้วยเช่นกัน วงดิอิมพอสสิเบิลส์มีรูปแบบการเรียบเรียงเสียงประสานทางดนตรีที่มีลักษณะเด่นในเรื่องของการใช้ จังหวะ(Rhythm) ฮาร์โมนี่(Harmony), และทางเดินคอร์ด(Chord) ที่เด่นชัดและมีรูปแบบทางดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเฉพาะการใช้คอร์ดที่ ทั้งรูปแบบการดำเนินคอร์ด โหมดของคอร์ด ทางเดินของคอร์ด ทำให้วงมีการพลิกแพลงในการใช้คอร์ดที่หลากหลาย เช่น Minor, b5th, 9th , #9th ,11th ซึ่งวงดนตรีไทยในสมัยนั้นยังไม่มีการใช้คอร์ดที่พลิกแพลงมากมายขนาดนี้ อีกทั้งยังเป็นภาพสะท้อนให้เห็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคสมัยนั้น ได้แก่ ภาพสะท้อนทางดนตรี ภาพสะท้อนแฟนเพลง ภาพสะท้อนแฟชั่น และภาพสะท้อนทางสังคม วัฒนธรรม โดยมองผ่านจากบทเพลงและตัวดนตรีของวงดิอิมพอสสิเบิลส์และบริบทรอบข้าง  
Author
597220012-0 Mr. JIRAT MATTHAYOMNAN [Main Author]
Fine and Applied Arts Doctoral Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0