2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ประวัติและความเปลี่ยนแปลงพิธีไหว้ครูพิณเพียต History and Changes in Pin Peat Master Worshiping Ceremony  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 18 กันยายน 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 26 
     ฉบับที่
     เดือน ตุลาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา รวมไปถึงความเปลี่ยนแปลงของวงดนตรีและพิธีไหว้ครู พิณเพียตแบบราชสำนักกัมพูชา ผู้วิจัยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการเข้าเก็บข้อมูลภาคสนามในพิธีไหว้ครูประจำปี 2559 ของประเทศกัมพูชา ที่ Secondary School of Fine Arts. และข้อมูลเพิ่มเติม Royal University of Fine Arts. กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ผลการศึกษา พบว่า วงเพลงพิณเพียต มีต้นกำเนิดจากนักปราชญ์ทั้งหลาย ในพระราชวังของกษัตริย์ มีวงดนตรี 2 ประเภทประกอบเข้าด้วยกัน คือ “วงเพลงพิณ” ในขณะนั้นเรียกว่าเพลงศาสนาหรือเพลงนักปราชญ์ วงเพลงพิณมีกำเนิดตั้งแต่สมัยนครภนม (อาณาจักรฟูนัน) และในสมัยก่อนยุคประวัติศาสตร์เขมร “วงเพลงโคงสคอร์” โคงหมายถึงฆ้อง สคอร์หมายถึงกลอง วงเพลงนี้มีสาระสำคัญ เพื่อการศึกสงครามของกษัตริย์ เมื่อวงเพลงพิณกับวงโคงสคอร์ มาร่วมกันเพื่อการศาสนาและการพระมหากษัตริย์ จึงเรียกว่า “วงพิณเพียต” เมื่อเป็นดนตรีในพระราชพิธีจึงจัดให้มีพิธีกรรมการไหว้ครู ซึ่งพิธีกรรมการไหว้ครูนี้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยมีต้นกำเนิดจากพิธีแซโฎตา ដូនតា มีวัตุประสงค์เพื่อบูชาผีบรรพบุรุษ ในพิธีกรรมโบราณ มีการบรรเลงเพลงประกอบพิธี 33 เพลง เรียกว่าพิธีคาระครูใหญ่ ในปัจจุบันเหลือแต่สาระสำคัญในขั้นตอนพิธี มีการบรรเลงเพลง 12 เพลง เรียกว่าพิธีคาระครูเล็ก ด้วยวงพิณเพียตและพิธีไหว้ครูเกิดความเปลี่ยนแปลงด้วยผลกระทบจากสงครามหลายต่อหลายครั้ง ทั้งในยุคพระนคร ค.ศ.802 ยุคอาณานิคม ค.ศ.1860 ต่อมาเป็นยุคสงครามโลกช่วงปี ค.ศ. 1940 ถึงยุคปัจจุบัน วัฒนธรรมประเพณีถูกทำลาย ส่วนหนึ่งวงพิณเพียตถูกอยุธยานำมาเป็นวัฒนธรรมของประเทศตน เมื่อเขมรแพ้สงครามในช่วงอยุธยาตอนปลาย แต่ก็กลับไปสู่เขมรอีกครั้งในช่วงราว ค.ศ.1910 ปัจจุบันประเทศกัมพูชายังคงอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม โดยสถาบันการศึกษาระดับพื้นฐานและระดับอุดมศึกษา ซึ่งอยู่ในความดูแลของรัฐบาลกับราชสำนัก ทำให้พิณเพียตกับพิธีไหว้ครูยังอยู่ในปัจจุบัน ABSTRACT The objectives of the article are to study history, background including changes of Pin Peat, and Pin Peat master worshiping ceremony of the royal court of Cambodia. The researcher applies qualitative research by collecting data in master worshiping ceremony 2016 of Cambodia at Secondary School of Fine Arts. Besides, the researcher collects more information at the Royal University of Fine Arts in Phnom Penh, Cambodia. The result of the study indicates that Pin Peat is originated from philosophers in the palace. There are two kinds of music were assembled. First, Pleng Pin which was called religious song or philosophers’ song in the past. Pleng Pin has originated since ‎Nakhonphanom era (Funan kingdom). Second, Kong Skor in the prehistoric of Khmer. From the word Kong Skor, Kong means gong and Skor means drum. The band aims to play for monarch war. When Pleng Pin and Kong Skor were assembled to play for religious activity and royal ceremony, hence it was called Pin Peat. On occasion of a royal ceremony, the master worshiping ceremony arranges every year. The ceremony originates from San Don Ta tradition ដូនតា aims to worship ancestor’s spirit. In ancient rituals, 33 songs are performed in the name of master worshiping ceremony. However, currently, focus on only the procedure of ceremony and remains 12 songs which were called minor worshiping ceremony. From changing of Pin Peat and worshiping ceremony because of wars. Culture and tradition have destroyed since the Angkorian period in A.D. 802, Colonial-era in A.D. 1860, and World War II in A.D. 1940 to presents. When Cambodia lost the war in the late Ayutthaya era, Pin Peat was owned by Ayutthaya before transfer back to Cambodia again about A.D. 1910. At present, Cambodia conserves art and cultural by basic education institutions and higher education institutions which are in charge of the government and royal court. Thus, Pin Peat and worshiping ceremony is still performing.  
     คำสำคัญ ความเปลี่ยนแปลง / วงพิณเพียต / พิธีไหว้ครูราชสำนักกัมพูชา Pin Peat / Worshiping Ceremony of the Royal Court of Cambodia 
ผู้เขียน
577220020-9 ว่าที่ ร.ต. โสภณ ลาวรรณ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0