2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย The Development of an Instructional Model to enhance Critical Thinking Process for Grade 10 Students in Roi-Et Wittayalai School 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 16 กันยายน 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ 
     ISBN/ISSN รหัสใบรับรอง D130201 รหัสบทความ M1509621 
     ปีที่ 13 
     ฉบับที่
     เดือน พฤษภาคม-สิงหาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า
     บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชา ส31102 สังคมศึกษา 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 กำหนดเกณฑ์คัดเข้าของกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนที่มีผลคะแนนกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ช่วง 8-12 คะแนน จำนวน 35 คน ดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยระยะที่ 1และ 2 ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร และแนวทางการสนทนากลุ่ม และ ระยะที่ 3 ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชา ส31102 สังคมศึกษา 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน แบบวัดกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแบบสะท้อนผลการเรียนรู้ของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ครูผู้สอนส่วนใหญ่ใช้วิธีการสอนแบบบรรยาย มุ่งพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการและผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้น ไม่มุ่งเน้นกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการบวนการคิดวิจารณญาณ 2) รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชา ส31102 สังคมศึกษา 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย (1) ขั้นกำหนดประเด็นปัญหา (2) ขั้นพิจารณาข้อมูล (3) ขั้นตีความ (4) ขั้นประเมินสถานการณ์ (5) ขั้นสรุปเพื่อตัดสินใจ (6) ขั้นนำแนวคิดไปใช้ 4) ระบบสังคม 5) ระบบสนับสนุน และ 6) การวัดและประเมินผล และ 3) หลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 85.71 ของนักเรียนทั้งหมด มีคะแนนกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ร้อยละ 81.64 ของคะแนนเต็ม ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 
     คำสำคัญ รูปแบบการเรียนการสอน กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 
ผู้เขียน
567050019-9 นาย ยุทธกรณ์ ก่อศิลป์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0