2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถด้านเหตุผลสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 21 กันยายน 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ  
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ 
     ISBN/ISSN M1509623 
     ปีที่ 13 
     ฉบับที่
     เดือน พฤษภาคม - สิงหาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถด้านเหตุผล และ ศึกษาความสามารถด้านเหตุผลที่เกิดจากการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถด้านเหตุผล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 จัดทำตัวชี้วัดและร่างรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถด้านเหตุผล ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถด้านเหตุผล โดยวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 ห้องเรียน และระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถด้านเหตุผล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการทดลองขั้นต้น (Pre-experimental Design) ทดสอบก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 จำนวน 8 ห้องเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถด้านเหตุผล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มี 8 องค์ประกอบได้แก่ 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วย (1) ขั้นนำเสนอสถานการณ์ (2) ขั้นฝึกคิดวิเคราะห์ (3) ขั้นสังเคราะห์ (4) ขั้นตัดสินใจให้เหตุผล และ (5) ขั้นลงข้อสรุป 4) เนื้อหาสาระ 5) ระบบสังคม 6) หลักการตอบสนอง 7) สิ่งสนับสนุน และ 8) การนำไปใช้ 2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถด้านเหตุผล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละของคะแนนการทดสอบความสามารถด้านเหตุผลหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยร้อยละของคะแนนความสามารถด้านเหตุผลก่อนเรียนสูงกว่าหลังเรียน พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และสุขศึกษาและพลศึกษา คะแนนก่อนเรียนระดับพอใช้ คะแนนหลังเรียนระดับดี กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ คะแนนก่อนเรียนระดับพอใช้ คะแนนหลังเรียนระดับดีมาก ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม คะแนนก่อนเรียนระดับดี คะแนนหลังเรียนระดับดีมาก  
     คำสำคัญ รูปแบบการเรียนการสอน ความสามารถด้านเหตุผล 
ผู้เขียน
567050027-0 น.ส. จุฬาลักษณ์ ภูปัญญา [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0