2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การสร้างแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานในกลุ่มวัสดุก่อสร้าง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 21 กันยายน 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรมทางการจัดการระดับชาติ ประจำปี 2562 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
     สถานที่จัดประชุม วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 21 กันยายน 2562 
     ถึง 21 กันยายน 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) (ปีที่ 6) พ.ศ. 2562  
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 384-390 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานในกลุ่มวัสดุก่อสร้าง และ 2) จัดทำแนวทางการสร้างแรงจูงใจของพนักงานในกลุ่มวัสดุก่อสร้าง โดยได้นำทฤษฎีสองปัจจัยของเฮิร์ซเบิร์ก คือ ปัจจัยค้ำจุน และปัจจัยจูงใจ มาใช้ในการศึกษากลุ่มประชากร 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ประกอบการร้านวัสดุก่อสร้าง 10 คน และพนักงานประเภทใช้แรงงานร้านวัสดุก่อสร้าง 20 คน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ และร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการให้ความสำคัญในด้านค่าจ้าง รองลงมา คือ ด้านคำพูด และด้านสภาพการทำงาน ในขณะที่พนักงานให้ความสำคัญในด้านค่าจ้าง รองลงมา คือ ด้านความรับผิดชอบ และด้านความสัมพันธ์ ซึ่งในปัจจัยค้ำจุน ด้านค่าจ้างและสวัสดิการมีค่าความถี่มากที่สุด โดยพนักงานให้ความสำคัญในเรื่องวิธีการจูงใจด้วยเงินและค่าตอบแทนมากกว่าผู้ประกอบการ ส่วนปัจจัยจูงใจ ด้านความรับผิดชอบมีค่าความถี่มากที่สุด ซึ่งมีเพียงพนักงานที่ให้ความสำคัญในเรื่องวิธีการจูงใจเพื่อการเลี้ยงดูครอบครัว จากปัจจัยดังกล่าวนำมาจัดทำเป็นแนวทางการสร้างแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานในกลุ่มวัสดุก่อสร้าง ได้จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการ 1 พักพิงอิงอาศัย อบอุ่นดั่งครอบครัว และโครงการที่ 2 ชื่นชมทำดี ชมเชยรางวัล ซึ่งทั้ง 2 โครงการนี้จะสามารถสร้างแรงจูงใจในการทำงาน และลดการมาสายของพนักงานในกลุ่มวัสดุก่อสร้างได้ 
ผู้เขียน
605740121-5 น.ส. สรมนัญชยา เจริญกุลวัฒนะ [ผู้เขียนหลัก]
วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0