2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การประยุกต์ใช้หลักการโค้ชเชิงบวก(Appreciative coaching)ในกระบวนการโค้ชผู้บริหารแบบ GROW Model 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 21 กันยายน 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรมทางการจัดการ ระดับชาติ ประจำปี 2562 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 21 กันยายน 2562 
     ถึง 21 กันยายน 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) (ปีที่ 6) พ.ศ. 2562 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 247-252 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การศึกษาอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมประสบการณ์เชิงบวกและความเข้าใจในตัวเองของผู้บริหารที่มีต่อการตั้งเป้าหมาย การรับรู้สภาพความเป็นจริง การพิจารณาทางเลือกและการนำไปปฏิบัติ เพื่อสร้างกระบวนการโค้ชผู้บริหารโดยใช้แนวทางการโค้ชแบบ GROW Model และเพื่อนำหลักการโค้ชผู้บริหารนี้ไปประยุกต์ใช้กับการโค้ชพนักงานในองค์กร ดำเนินการศึกษาโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง(Semi-structured interview) โดยใช้หลักการโค้ชเชิงบวก (Appreciative Coaching) มาประยุกต์ใช้กับแนวทางการโค้ชตามแบบ GROW Model เป็นแนวทางในการตั้งคำถามและสัมภาษณ์ผู้บริหารสูงสุดตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของบริษัทเอกชน 3 คนโดยศึกษารวบรวมประสบการณ์เชิงบวกและความเข้าใจในตัวเองของผู้บริหาร นำผลการศึกษาที่ได้มาสร้างกระบวนการโค้ชผู้บริหารและนำหลักการโค้ชผู้บริหารนี้ไปประยุกต์ใช้กับการโค้ชพนักงานในองค์กร ผลการศึกษาพบว่าผู้บริหารทุกคนมีความเข้าใจในตัวเองเกี่ยวกับการตั้งเป้าหมายการรับรู้สภาพความเป็นจริงการพัฒนาทางเลือกและการนำไปปฏิบัติมีความสอดคล้องกันอย่างมีเหตุผลนอกจากนั้นยังนำผลการศึกษามาสร้างกระบวนการโค้ชผู้บริหารซึ่งประกอบด้วย การทำข้อตกลง การสำรวจหรือการค้นหา การวินิจฉัย การวางแผนปฏิบัติการ และการติดตามผลและได้นำหลักการโค้ชผู้บริหารนี้ไปประยุกต์ใช้กับการโค้ชพนักงานในองค์กร คำสำคัญ: การโค้ชเชิงบวก การโค้ชผู้บริหาร การโค้ชตามแบบ GROW Model  
ผู้เขียน
605740177-8 นาย ชัยณรงค์ สีหะ [ผู้เขียนหลัก]
วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0