2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ แนวทางการพัฒนาโมเดลธุรกิจ กิจการเพื่อสังคม กรณีศึกษาการท่องเที่ยวชุมชนตำบลท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 21 กันยายน 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรมทางการจัดการระดับชาติ ประจำปี 2562 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 21 กันยายน 2562 
     ถึง 21 กันยายน 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) ุ6  
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 274-279 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาแนวทางการพัฒนาโมเดลธุรกิจ กิจการพื่อสังคม โดยศึกษาพฤติกรรมและส่วนประสมทางการตลาด เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ โดยการแจกแบบสอบถาม เพื่อนำผลไปวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เชิงพรรณนา และวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกทั่วไป ทฤษฎีส่วนประสมทางการตลาด การวิเคราะห์สภาวะการณ์แข่งขันจากโมเดลแรงกดดัน 5 ประการ การวิเคราะห์ด้วยหลักการ(SWOT Analysis) กำหนดเป็นแผนภาพแบบจำลองธุรกิจ (Business Model Canvas) ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มลูกค้าคือ เพศหญิงมีอายุ 31 - 40 ปี คิดเป็นร้อยละ 34.75 มีระดับการศึกษาปริญญาตรี มีอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว มีรายได้เฉลี่ย 10,001 - 20,000 บาท กำหนดแบบจำลองธุรกิจ ดังนี้ การนำเสนอคุณค่า องค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นมีเอกลักษณ์ด้านการทำเครื่องดนตรีพื้นบ้าน พิณ แคน โหวด นอกจากนี้มีช่องทางการจัดจำหน่าย ผ่านทางสื่อออนไลน์ สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า เพื่อให้เกิดความประทับใจ อันมีทรัพยากรหลัก คือสถานที่ท่องเที่ยว ช่างทำเครื่องดนตรีท้องถิ่น มัคคุเทศก์ท้องถิ่น กิจกรรมหลักคือการพัฒนากิจกรรมและฝึกอบรมเพื่อสร้างเครือข่าย ซึ่งมีหุ้นส่วนทางธุรกิจ คือมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท และบริษัท โลเคิล อไลค์ จำกัด โครงสร้างต้นทุน คือค่าบำรุงเว็ปไซต์ ผลตอบแทนสมาชิก ค่าฝึกอบรม มีกระแสรายได้จาก ค่าบริการการท่องเที่ยว และการจำหน่ายสินค้าที่ระลึกในชุมชน 
ผู้เขียน
595740223-6 นาย ธีรพงษ์ โกษาแสง [ผู้เขียนหลัก]
วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0