2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 27 กันยายน 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติราชมงคลสุรินทร์ครั้งที่ 10 "วิจัยและนวัตกรรมนำสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน" 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์  
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์  
     จังหวัด/รัฐ สุรินทร์ 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 19 กันยายน 2562 
     ถึง 20 กันยายน 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 10 
     Issue (เล่มที่) 10 
     หน้าที่พิมพ์ C-346 - C-356 
     Editors/edition/publisher
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคแผนผังทางความคิด โดยให้นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์เฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป 2) พัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคแผนผังทางความคิด โดยให้นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์เฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลบ้านสามเหลี่ยม สังกัดกรมส่งเสริมปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 3 ประเภท 1) แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคแผนผังทางความคิด จำนวน 6 แผน เวลา 12 ชั่วโมง 2) เครื่องมือที่ใช้สะท้อนผลการปฏิบัติการวิจัย ประกอบด้วย (1) แบบสังเกตพฤติกรรมการสอนของครู (2) แบบบันทึกผลการจัดการเรียนรู้ (3) แบบบันทึกความคิดเห็นของนักเรียน (4) แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์ท้ายวงจร (5) แบบทดสอบความสามารถการคิดวิเคราะห์ท้ายวงจร 3) เครื่องมือที่ใช้ประเมินผลการวิจัย ประกอบด้วย (1) แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 30 ข้อ (2) แบบทดสอบความสามารถการคิดวิเคราะห์ แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 30 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ค่าเฉลี่ย(x ̅)ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)และการคำนวณค่าร้อยละ(%)ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์เฉลี่ยเท่ากับ 45.00 คิดเป็นร้อยละ 75.00 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ 12 คน คิดเป็นร้อยละ 80.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนมีคะแนนความสามารถการคิดวิเคราะห์เฉลี่ยเท่ากับ 20.80 คิดเป็นร้อยละ 77.04และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ 12 คน คิดเป็นร้อยละ 86.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 
ผู้เขียน
605050128-4 นาย สอนจด วงศ์กาฬสินธุ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0