2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลของการเรียนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการสืบสวนสอบสวน เป็นกลุ่มเพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 11 ตุลาคม 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กองบรรณาธิการ วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 13 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม-กันยายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อออกแบบการเรียนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการสืบสวนสอบสวนเป็นกลุ่ม เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ (2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ก่อนและหลังการจัดการเรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสาน (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยการเรียนแบบผสมผสาน (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการเรียนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการสืบสวนสอบสวนเป็นกลุ่มเพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 32 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย จากนักเรียน 3 ห้อง ทั้งหมด 81 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการสืบสวนสอบสวนเป็นกลุ่ม เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ 2) แบบวัดการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน แบบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.50 – 0.80 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20 – 0.60 โดยมีความความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.4 – 0.75 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20 - 0.80 โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 4) แบบวัดความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคการสืบสวนสอบสวนเป็นกลุ่ม เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 0.7 การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบหาค่าที (T-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. บทเรียนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการสืบสวนสอบสวนเป็นกลุ่ม เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ มีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.02/81.96 2. การคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของการเรียนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการสืบสวนสอบสวนเป็นกลุ่ม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการสืบสวนสอบสวนเป็นกลุ่ม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการสืบสวนสอบสวนเป็นกลุ่มเพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับมาก  
     คำสำคัญ การเรียนแบบผสมผสาน, การเรียนรู้แบบร่วมมือ, เทคนิคการสืบสวนสอบสวนเป็นกลุ่ม, การคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ 
ผู้เขียน
585050213-1 นาง ธัญญรัตน์ ลาภสมทบ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0