2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title ผลของการเล่นเกมบันไดงูภายในครอบครัวเพื่อเพิ่มทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ในเด็กอนุบาลที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม 
Date of Distribution 27 September 2019 
Conference
     Title of the Conference INTERNATIONAL CONFERENCE ON EDUCATIONAL RESEARCH (ICER 2019) 
     Organiser KHON KAEN UNIVERSITY 
     Conference Place FACULTY OF EDUCATION KHON KAEN UNIVERSITY  
     Province/State THAILAND 
     Conference Date 25 September 2019 
     To 27 September 2019 
Proceeding Paper
     Volume 2019 
     Issue 12 
     Page 402 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract เด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม มีความบกพร่องด้านการสื่อสารทางสังคมและด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ส่วนหนึ่งจะมีทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่อ่อนแรงและทำงานไม่ประสานกัน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเกมบันไดงูภายในครอบครัวที่มีต่อการเพิ่มทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ในเด็กอนุบาลที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม และประเมินทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กอนุบาลที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม ก่อนและหลัง การเล่นเกมบันไดงูภายในครอบครัว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เด็กอนุบาลที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม ในศูนย์วิจัยออทิสติก โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มอดินแดง) ฝ่ายการศึกษาพิเศษ จำนวน 1 คน และรับการบำบัดในศูนย์การศึกษาพิเศษ เขต 9 จังหวัดขอนแก่น จำนวน 2 คน รวมทั้งหมด 3 คน ที่มีช่วงอายุระหว่าง 4-6 ปี และได้รับการวินิจฉัยโดยจิตแพทย์เด็กแล้วว่าเป็นเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม การวิจัยนี้ได้ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เลขที่ HE623049 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ผู้ปกครอง แบบสังเกตพฤติกรรมของเด็กอนุบาลที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม แบบประเมินทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กอนุบาลที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม และ เกมบันไดงูภายในครอบครัวที่มีคำแนะนำในการเล่นเกมอย่างเป็นแบบฉบับ ผลการวิจัยพบว่า (1) เกมบันไดงูภายในครอบครัวได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญทั้งทางกายภาพบำบัดและทางการศึกษาพิเศษ ว่าเป็นเกมที่ใช้ได้กับเด็กอนุบาลที่มีภาวออทิซึมสเปกตรัมโดยให้เล่นซ้ำ ๆ วันละ 1 ชั่วโมง เล่น 3 วันต่อสัปดาห์ รวม 15 ครั้ง อยู่ภายใต้การกำกับของนักวิจัยภายหลังการเล่นเกมบันไดงู เมื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดสอบโดยใช้แบบประเมินทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ พบว่า เด็กอนุบาลที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม ที่ผ่านการเล่นเกมบันไดงูภายในครอบครัว มีทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ในระดับที่เพิ่มขึ้น (2) จากการเปรียบเทียบทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กอนุบาลที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม ก่อนและหลังการเล่นเกมบันไดงูภายในครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบประเมินทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ พบว่าทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กอนุบาลที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม หลังจากการเล่นเกมบันไดงูภายในครอบครัวสูงขึ้น  
Author
605050193-3 Miss PITTAWAN MARTSEEDA [Main Author]
Education Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference นานาชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0