2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ความชุกของภาวะโลหิตจางและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริจาคโลหิตได้ในศึกษาหญิงระดับอุดมศึกษา จังหวัดนครราชสีมา 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 13 มกราคม 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 13 
     ฉบับที่
     เดือน เมษายน-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า
     บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกภาวะโลหิตจางและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริจาคโลหิตได้ ในนักศึกษาหญิง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหญิงที่สมัครใจบริจาคโลหิตให้กับสภากาชาดไทย จำนวน 279 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย 4 ส่วน ดังนี้ 1) ข้อมูลทั่วไปปัจจัยส่วนบุคคล 2) ปัจจัยด้านสุขภาพ 3) ปัจจัยด้านการบริโภคอาหาร 4) ค่าความเข้มข้นของสารสีแดงในเลือด (ฮีโมโกลบิน) และผลการบริจาคโลหิต โดยผู้มีภาวะโลหิตจางกำหนดให้ Hb < 12 g/dl และผู้ที่สามารถบริจาคหิตได้ Hb ตั้งแต่ 12.5 g/dl วิเคราะห์หาความสัมพันธ์เพื่อหาปัจจัย ที่มีความสัมพันธ์กับการบริจาคโลหิตได้ ด้วยสถิติทดสอบไคสแคว์ สถิติ Fisher exact test และวิเคราะห์ถดถอย แบบ Multiple logistic regression ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์แบบขจัดออกทีละตัวแปร (Backward elimination) โดยคัดเลือกตัวแปรจาก การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ตัวแปรที่มีค่า p-value < 0.05 นำเสนอค่า adjusted OR และช่วงเชื่อมั่น 95% CI ผลการศึกษาพบความชุกของภาวะโลหิตจางในนักศึกษาหญิงระดับอุดมศึกษาเท่ากับร้อยละ 25.4 อัตราการบริจาคโลหิตได้ ร้อยละ 64.5 จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) และการบริโภคเมล็ดงามีความสัมพันธ์กับการบริจาคโลหิตได้ในนักศึกษาหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.010, p-value = 0.024, ตามลำดับ) โดยผู้ที่มีน้ำหนักเกิน (BMI 23 กก./ตร.ม ขึ้นไป) มีโอกาสบริจาคเลือดได้ 1.99 เท่า (ORadj = 1.99, 95% CI; 1.18 – 3.38) เมื่อเทียบกับผู้ที่มีดัชนีมวลกายน้อยกว่า 23 กก./ตร.ม และ ผู้ที่รับประทานเมล็ดงามากกว่าหรือเท่ากับ 1 – 3 ครั้ง/สัปดาห์ มีโอกาสบริจาคโลหิตได้เป็น 2.59 เท่า (ORadj =2.59 , 95% CI; 1.13 – 5.91) เมื่อเทียบกับผู้ที่รับประทานเมล็ดงาน้อยกว่า 1 – 3 ครั้ง/สัปดาห์ จากผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ว่า หนึ่งในสี่ของนักศึกษาหญิงมีภาวะโลหิตจาง สองในสามสามารถบริจาคโลหิตได้ โดยดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) และการรับประทานเมล็ดงามีความสัมพันธ์กับการบริจาคโลหิตได้ ดังนั้น เพื่อลดภาวะโลหิตจาง และเพิ่มจำนวนผู้ที่สามารถบริจาคโลหิตได้ มากขึ้นควรสนับสนุนการให้ความรู้ด้านสุขภาพ และการเลือกบริโภคอาหาร รวมถึงให้ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง อาหารที่ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก และอาหารที่ขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็ก นอกจากนี้ ควรให้ยาเสริมธาตุเหล็กกับนักศึกษาที่มีภาวะโลหิตจาง ซึ่งนอกจากช่วยลดอัตราการเกิดภาวะโลหิตจางแล้วยังเพิ่มจำนวนผู้ที่สามารถบริจาคโลหิตได้มากขึ้น ส่งผลให้โอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยมีเพิ่มขึ้น  
     คำสำคัญ ภาวะโลหิตจาง การบริจาคโลหิตได้ นักศึกษาหญิงระดับอุดมศึกษา 
ผู้เขียน
605110093-4 น.ส. นันท์ฐภัส ขานมา [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0