2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การพัฒนาและศึกษาลักษณะการตอบของแบบวัดจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ ในรูปแบบมาตรวัดที่ต่างกัน DEVELOPMENT AND RESPONSE STYLE OF DIFFERENT SCALES’ POLARITY MEASUREMENT OF MATHEMATICAL HABITS OF MIND FOR UPPER SECONDARY SCHOOL STUDENTS 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 13 กุมภาพันธ์ 2563 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการ การวัด ประเมินผล และวิจัยสัมพันธ์ แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 28 “บทบาทของการวิจัย วัดผลและประเมินทางการศึกษาในบริบทการเปลี่ยนแปลงสังคมโลก” 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมวังจันทน์ ริเวอร์วิว (Wangchan Riverview Hotel) 
     จังหวัด/รัฐ พิษณุโลก 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 12 กุมภาพันธ์ 2563 
     ถึง 14 กุมภาพันธ์ 2563 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 28 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 215-234 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ งานวิจัยฉบับนี้มี วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 2. เพื่อศึกษาลักษณะการตอบแต่ละรายการของรูปแบบมาตรวัดที่ต่างกันของแบบวัดจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 122 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดจิตนิสัยคณิตศาสตร์ 2 แบบ คือ 1.แบบวัดจิตนิสัยคณิตศาสตร์ มาตรวัดแบบขั้วเดียว (Unipolar) 2.แบบวัดจิตนิสัยคณิตศาสตร์ มาตรวัดแบบสองขั้ว (Bipolar) ซึ่งแบบวัดทั้ง 2 ฉบับ เป็นมาตรประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ใช้ข้อคำถามเดียวกัน ทั้งหมด 57 ข้อ นำแบบวัดมาตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity Ratio) ของ Lawshe (1975) และตรวจสอบคุณภาพแบบวัดในทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (CTT) และในทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ (IRT) ผลวิจัยพบว่า 1.การพัฒนาแบบวัดจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย มีคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity Ratio) โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ได้ค่า CVR เท่ากับ 1.0 การตรวจสอบคุณภาพด้านค่าอำนาจจำแนก (discrimination) ในทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (CTT) มาตรวัดแบบขั้วเดียวมีค่า 0.09 - 0.74 และมาตรวัดแบบสองขั้วมีค่า 0.16-0.65 ส่วนในทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ (IRT) มาตรวัดแบบขั้วเดียวมีค่า 0.09-2.92 และมาตรวัดแบบสองขั้วมีค่า 0.17-2.02 การตรวจสอบคุณภาพด้านความเที่ยง (Reliability) ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบาค ซึ่งมาตรวัดแบบขั้วเดียวมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 ซึ่งมีค่าสูงกว่ามาตรวัดแบบสองขั้ว ที่มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.73 2. ลักษณะการตอบแต่ละรายการของรูปแบบมาตรวัดที่ต่างกันของแบบวัดจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย พบว่านักเรียนเลือกรายการคำตอบกระจายทั้ง 5 ระดับ โดยส่วนใหญ่นักเรียนเลือกรายการคำตอบที่ 4 และ 5 และผลการตอบแบบวัดจิตนิสัยคณิตศาสตร์ มาตรวัดแบบขั้วเดียว และมาตรวัดแบบสองขั้ว มีการกระจายผลการตอบที่แตกต่างกัน คำสำคัญ: จิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ /มาตรวัดแบบขั้วเดียว /มาตรวัดแบบสองขั้ว  
ผู้เขียน
615050100-7 น.ส. มัทน์ชุลินทร์ อินทะราช [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0