2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ แนวทางการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยของครูที่มีผลต่อกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนประถมศึกษา 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 16 มีนาคม 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วิวิธวรรณสาร 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 
     ISBN/ISSN ISSN 2630-0168 (Print) ISSN 2672-9458 (Electronic) 
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-เมษายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยของครูโรงเรียนอนุบาลสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 2) ศึกษากระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รูปแบบการศึกษาเฉพาะกรณี (Case Study) กลุ่มเป้าหมายเป็นครูสอนวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์ จำนวน 1 คน และนักเรียนที่เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/7 จำนวน 45 คนที่เรียนวิชาภาษาไทย โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสังเกตการเรียนการสอน และแบบทดสอบ ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการจัดการเรียนรู้ของครูแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้ 1) ขั้นการเตรียมการจัดการเรียนรู้ พบว่าครูวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตร ทำแผนการจัดการเรียนรู้ ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ กำหนดจุดประสงค์เนื้อหา สื่อ และวิธีการวัดและประเมินผล 2) ขั้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการนำเข้าสู่บทเรียนพบว่า ครูใช้วิธีให้นักเรียนทำกิจกรรมกระตุ้นสมองและสนทนาพูดคุย ชี้แจงจุดประสงค์การเรียนรู้ ด้านการจัดกิจกรรมการสอนใช้วิธีบูรณาการเชิงสหวิธีการ ด้านสื่อ ใช้แผนภูมิ บัตรคำ บัตรภาพ ใบงาน แถบคำถาม บัตรคำตอบ ด้านการจัดบรรยากาศการเรียนรู้ภายในห้องเรียนพบว่า การจัดวางโต๊ะครูและนักเรียนเหมาะสมเป็นระเบียบ มีมุมวิชาการ ป้ายนิเทศ มีแสงสว่างเพียงพอ มีเครื่องมือเครื่องใช้ นักเรียนมีความสุขกับการเรียน มีความสนใจ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนเป็นไปด้วยดี ด้านการเสริมแรงใช้คำชมเชยเป็นการเสริมแรงทางบวกอย่างต่อเนื่อง 3) ขั้นการวัดและประเมินผล ใช้แบบทดสอบ แบบประเมินใบงาน แบบสังเกต แบบประเมินการสังเกตพฤติกรรม และแบบประเมินผลงานรายบุคคล 2) กระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน แบ่งออกเป็น 3 ด้าน 1) ด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้พบว่า ห้องเรียนมีบรรยากาศของการเรียนรู้ร่วมกัน ครูรับฟังแนวคิดและยอมรับแนวคิดของนักเรียน นักเรียนมีความสุขกับบทเรียนและช่วยกันทำงานที่ครูมอบหมาย ตระหนักในบทบาทหน้าที่ ร่วมแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ยอมรับฟังความคิดเห็น แสดงออกต่อกันอย่างเป็นมิตร ร่วมกันรับผิดชอบผลของการดำเนินกิจกรรมการเรียนร่วมกัน 2) ด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียน พบว่า ครูใส่ใจและสนใจนักเรียนทุกคน รับฟังความคิดเห็นของเด็กนักเรียนแต่ละคน สังเกตผู้เรียน สอบถามทุกข์สุข ให้ความเป็นกันเอง ให้นักเรียนมีอิสระในการเรียนการสอน ไม่ทำให้รู้สึกอึดอัด นักเรียนมีความสามัคคี รักใคร่กลมเกลียว เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีน้ำใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 3) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพบว่า นักเรียนทุกคนมีผลการเรียนรู้อยู่ในระดับดีมาก ABSTRACT The objective of this research is 1) Study the guidelines for learning management of Thai language of teachers in Surin Kindergarten School. Surin Province 2) Study the learning process of Prathom Suksa 6 students in Surin Kindergarten School. Surin Province Uses qualitative research methodology, case study model.The target group is 1 Thai language teacher in Prathom 6, Surin kindergarten school, and 45 students in Prathom 6/7 students learning Thai language. Surin Kindergarten, Semester 1, academic year 2019, research instruments Structural interview. The observation form and the test form, the research found that 1) The method for learning management of Thai language teachers is divided into 3 steps consisting of 1) analyzing individual learners, preparation of learning management, found that teachers study and analyze the curriculum make a learning plan. Design learning activities determining the objectives, content, media. and methods of measurement and evaluation 2) The learning activity management uses interdisciplinary integration. Many methods of teaching, namely, asking questions group study together, discuss, summarize, review previous knowledge, present media work, use word-of-word charts, picture charts, word cards, picture cards, work sheets, verse charts, question strips, answer cards in the classroom. Atmosphere, found that teachers and students place is appropriate with academic corners, signs, and sufficient lighting. There are television tools students fun with teaching enthusiastic regarding interaction between teachers and learners and between the learners and the learners having good interaction with each other students are free and assertive. Dare to comment on the reinforcement the students received. It is a compliment which is a continuous positive reinforcement when doing correct teaching and learning activities. 3) Evaluation process uses research methods, summaries, discussions, answers to questions, analyze ideas, write summaries, do exercises, and test. 2) The learning process of students is divided into 2 areas. 1) Regarding participation in learning activities, it was found that The classroom has an atmosphere of shared learning. The teacher listens to concepts and accepts students' concepts. Students are happy with the lesson and help each other work as assigned by the teacher. Realized the role Join the class to comment. Participate in decision making Accepting opinions To be friendly Jointly responsible for the results of the joint educational activities.  
     คำสำคัญ แนวทางการจัดการเรียนรู้, กระบวนการเรียนรู้, วิชาภาษาไทย 
ผู้เขียน
605050129-2 น.ส. ชญตา วงษาวดี [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0