2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การประเมินปริมาณอไมโลส เนื้อสัมผัส เเละคุณภาพการหุงต้มของข้าวเหนียว พันธุ์คัดเลือกบางสายพันธุ์ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 9 ธันวาคม 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร เเก่นเกษตร 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กองบรรณาธิการ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 48 
     ฉบับที่
     เดือน พค-มิย.
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ ประทศไทยนับว่าเป็นศูนย์กลางของความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าวพื้นเมืองแห่งหนึ่งของโลกและประชากรในประเทศบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก โดยเฉพาะข้าวเหนียวที่เป็นอาหารหลักของประชาชนในเขตภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ข้าวเหนียวพันธุ์ปรับปรุงที่นิยมบริโภคและมีคุณภาพสูงได้แก่ ข้าวเหนียวพันธุ์ กข6 ปัจจุบันข้าวพื้นเมืองบางสายพันธุ์กำลังเป็นที่นิยมของผู้บริโภค แต่ยังมีการศึกษาวิจัยด้านคุณสมบัติและคุณภาพของข้าวพื้นเมืองยังไม่แพร่หลายเนื่องจากขาดพันธุ์ที่มีศักยภาพการให้ผลผลิตที่ดีและส่วนใหญ่มีคุณภาพการบริโภคที่ไม่ดีเมื่อเทียบกับพันธุ์ กข 6 ดังนั้นการทดลองครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน ปริมาณอะไมโลส เนื้อสัมผัส และคุณภาพการหุงต้มของข้าวเหนียว พันธุ์คัดเลือกบางสายพันธุ์ สำหรับการส่งเสริมเพื่อการค้าและการบริโภคในอนาคต โดยนำข้าวเหนียวพื้นเมืองที่นิยมบริโภคอยู่ในขณะนี้ได้แก่ ข้าวสกลนคร เหนียวดำม้ง พระยาลืมแกง ซิวเกลี้ยง ซิวแม่จัน และ กข6 รวมทั้งข้าวเจ้าที่ใช้เป็นพันธุ์เปรียบเทียบได้แก่ข้าว KDML105 มาใช้ในการทดสอบ โดยเมล็ดข้าวที่ใช้ทดสอบนั้นเป็นข้าวที่ได้ปลูกและมีการเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2560 ทำการประเมินปริมาณอะไมโลส เนื้อสัมผัส และคุณภาพการหุงต้ม พบว่า ปริมาณอะไมโลสมีความแตกต่างกันโดยข้าวเจ้า KDML105 มีอะไมโลสสูงสุด (19 เปอร์เซ็นต์) ส่วนข้าวเหนียวพื้นเมืองที่ทำการทดสอบมีปริมาณใกล้เคียงกันในช่วง 7.1- 7.9 เปอร์เซนต์ การทดสอบเนื้อสัมผัสพบว่า แต่ละพันธุ์มีความแตกต่างกันโดยข้าวพันธุ์ KDML105 และข้าว กข6 มีค่าความหนืดสูงสุด ส่วนคุณภาพหุงต้มและความหอม นั้นพบว่า มีความแตกต่างกันทางสถิติ โดยข้าวที่มีความหอม และผู้บริโภคชอบมากที่สุดเทียบเท่ากับพันธุ์ กข6 คือ ข้าวพันธุ์เหนียวดำม้ง และสกลนคร  
     คำสำคัญ คำสำคัญ: ข้าวพื้นเมือง ความหอม การคัดเลือก ความหนืด อุณหภูมิแป้งสุก 
ผู้เขียน
595030012-4 นาย อาทิตย์ ผาภุมมา [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0