2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article ผลการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง รายวิชาทัศนศิลป์ เรื่องการเขียนภาพหุ่นนิ่ง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 The result of flipped classroom learning activities in visual art subject topic in still life forgrade 12 students  
Date of Acceptance 26 February 2020 
Journal
     Title of Journal วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์  
     Standard TCI 
     Institute of Journal มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขต อุบลราชธานี 
     ISBN/ISSN 2539-5726 
     Volume
     Issue
     Month มกราคม-เมษายน
     Year of Publication 2020 
     Page 273-282 
     Abstract การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง รายวิชาทัศนศิลป์ เรื่องการเขียนภาพหุ่นนิ่ง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่องการเขียนภาพหุ่นนิ่ง โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง โดยใช้แบบแผนการทดลอง แบบกลุ่มเดียว วัดผลหลังการทดลอง (One-Shot Case Study) และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการทำการศึกษาประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง จำนวน 4 แผน รวม 8 ชั่วโมง 2) ชุดสื่อวีดิทัศน์ประกอบการเรียนรู้การเขียนภาพหุ่นนิ่ง จำนวน 4 เรื่อง ได้แก่ 2.1) Outline 2.2) Drawing 2.3) Colored pencil 2.4) Watercolor 3) แบบประเมินผลงาน 4) แบบสังเกตพฤติกรรมเป็นรายบุคคล 5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อรูปแบบแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียน กลับทาง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการประเมินผลงานนักเรียนโดยให้ผลงานมีคะแนนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ผลการศึกษาพบว่า ผลการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง รายวิชาทัศนศิลป์ เรื่อง การเขียนภาพหุ่นนิ่ง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มและมีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมดผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไปของคะแนนเต็ม ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนด และผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนเรื่อง การเขียนภาพหุ่นโดยจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง 1) นักเรียนมีความสามารถด้านการเขียนภาพหุ่นนิ่งมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 84.5 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ ทุกคน ซึ่งผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ความพึงพอใจของนักเรียนโดยจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง อยู่ในระดับดีมาก (x ̅ = 94.29)  
     Keyword การเขียนภาพหุ่นนิ่ง, การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง 
Author
595050197-4 Miss NUNTHAWAN CHAEMKHUNTHOD [Main Author]
Education Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ตีพิมพ์แล้ว 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0