2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง รายวิชาทัศนศิลป์ เรื่องการเขียนภาพหุ่นนิ่ง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 The result of flipped classroom learning activities in visual art subject topic in still life forgrade 12 students  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 26 กุมภาพันธ์ 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์  
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขต อุบลราชธานี 
     ISBN/ISSN 2539-5726 
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-เมษายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า 273-282 
     บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง รายวิชาทัศนศิลป์ เรื่องการเขียนภาพหุ่นนิ่ง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่องการเขียนภาพหุ่นนิ่ง โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง โดยใช้แบบแผนการทดลอง แบบกลุ่มเดียว วัดผลหลังการทดลอง (One-Shot Case Study) และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการทำการศึกษาประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง จำนวน 4 แผน รวม 8 ชั่วโมง 2) ชุดสื่อวีดิทัศน์ประกอบการเรียนรู้การเขียนภาพหุ่นนิ่ง จำนวน 4 เรื่อง ได้แก่ 2.1) Outline 2.2) Drawing 2.3) Colored pencil 2.4) Watercolor 3) แบบประเมินผลงาน 4) แบบสังเกตพฤติกรรมเป็นรายบุคคล 5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อรูปแบบแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียน กลับทาง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการประเมินผลงานนักเรียนโดยให้ผลงานมีคะแนนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ผลการศึกษาพบว่า ผลการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง รายวิชาทัศนศิลป์ เรื่อง การเขียนภาพหุ่นนิ่ง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มและมีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมดผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไปของคะแนนเต็ม ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนด และผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนเรื่อง การเขียนภาพหุ่นโดยจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง 1) นักเรียนมีความสามารถด้านการเขียนภาพหุ่นนิ่งมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 84.5 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ ทุกคน ซึ่งผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ความพึงพอใจของนักเรียนโดยจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง อยู่ในระดับดีมาก (x ̅ = 94.29)  
     คำสำคัญ การเขียนภาพหุ่นนิ่ง, การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง 
ผู้เขียน
595050197-4 น.ส. นันทวันท์ แช่มขุนทด [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum