2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ องค์ประกอบของการจัดการความรู้ส่วนบุคคลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมสัมมนาวิชาการ การนำเสนองานวิจัยระดับชาติและงานประชาสัมพันธ์ประจำปี 2563 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท) 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว 
     จังหวัด/รัฐ เชียงใหม่ 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 7 กุมภาพันธ์ 2563 
     ถึง 7 กุมภาพันธ์ 2563 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 535-545 
     Editors/edition/publisher รศ.ดร.จิณณวัตร ปะโคทัง 
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการจัดการความรู้ส่วนบุคคลของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย ดำเนินการวิจัยเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวกับการจัดการความรู้ส่วนบุคคล จำนวน 10 เรื่อง เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบการจัดการความรู้ส่วนบุคคลของครู จากแนวคิดเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) ยืนยันองค์การจัดการความรู้ส่วนบุคคลของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 ตามกรอบที่ได้สังเคราะห์ได้จากเอกสาร โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า การจัดการความรู้ส่วนบุคคลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 มีประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การค้นหาความรู้ มี 3 องค์ประกอบย่อย คือ การเข้าถึงข้อมูล การรวบรวมข้อมูล และจัดเก็บและค้นหาในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ 2) การจัดการและจัดเก็บความรู้ มี 3 องค์ประกอบย่อย คือ การแบ่งหมวดหมู่ การจัดเก็บให้เป็นระเบียบ และการนำความรู้ไปใช้ได้อย่างสะดวก 3) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มี 3 องค์ประกอบย่อย คือ การแลกเปลี่ยนแบบสองทาง เครือข่ายการเรียนรู้ และการร่วมมือแลกเปลี่ยน 4) การวิเคราะห์ข้อมูล มี 3 องค์ประกอบย่อย คือ คัดแยกความรู้จากข้อมูล การจัดกระทำข้อมูล และการสร้างองค์ความรู้ 5) การเผยแพร่ข้อมูล มี 3 องค์ประกอบย่อย คือ จัดเอกสารฐานความรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ข้ามสายงาน และเสนอนวัตกรรม  
ผู้เขียน
615050054-8 นาย พงษ์พัฒน์ วอทอง [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0