2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การเปรียบเทียบปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2-e) ที่เกิดขึ้นระหว่างการผลิตคอนกรีตทั่วไปและจีโอโพลีเมอร์คอนกรีตเพื่ออุตสาหกรรมการก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้วิธีการประเมินวัฏจักรชีวิต 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 1 ตุลาคม 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา)  
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร บรรณาธิการ วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 21 
     ฉบับที่
     เดือน ตุลาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ อุตสาหกรรมการก่อสร้างมีการใช้ปูนซีเมนต์เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตคอนกรีตเพื่อการก่อสร้างอาคาร อย่างไรก็ตามกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์มีการใช้งานพลังงานและก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ออกสู่สภาพแวดล้อมมากที่สุดเมื่อเทียบกับวัตถุดิบชนิดอื่นๆ เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการผลิตปูนซีเมนต์ที่เพิ่มขึ้นได้มีการพยายามหาคอนกรีตชนิดอื่นมาใช้แทนคอนกรีตปกติ เช่น จีโอโพลิเมอร์คอนกรีตซึ่งมีเถ้าลอยเป็นส่วนผสม โดยเถ้าลอยเป็นของเสียที่ได้จากโรงงานผลิตไฟฟ้าถ่านหิน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบหาปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2-e) จากการผลิตคอนกรีต 1 ลูกบาศก์เมตร ที่ให้ค่ากำลังรับแรงอัดของคอนกรีตเท่ากับ 40 MPa อายุที่ 28 วัน ทั้ง 2 ประเภท ด้วยวิธีการประเมินวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Assessment: LCA) ในการวิเคราะห์หาค่าปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2-e) โดยอาศัยข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรมและจากการสำรวจภาคสนาม จากการศึกษาพบว่า ผลรวมปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2-e) สำหรับการผลิตคอนกรีตทั้ง 2 ประเภทเป็นดังนี้ คอนกรีตปกติ มีค่าเท่ากับ 451.09 kg-CO2-e / m3และจีโอโพลีเมอร์คอนกรีต มีค่าเท่ากับ 420.49 kg-CO2-e / m3 
     คำสำคัญ การประเมินวัฏจักรชีวิต (LCA) จีโอโพลิเมอร์คอนกรีต คอนกรีตทั่วไป 
ผู้เขียน
585040084-2 นาย ศุภกร อรัญเสน [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0