2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ความแข็งแรงยึดดึงระดับจุลภาคของการซ่อมแซมเรซินคอมโพสิตด้วยสารยึดติดที่แตกต่างกัน 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 29 พฤษภาคม 2563 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ประจำปี 2563 ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 5 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชธานี 
     สถานที่จัดประชุม Zoom Meeting 
     จังหวัด/รัฐ อุบลราชธานี 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 29 พฤษภาคม 2563 
     ถึง 29 พฤษภาคม 2563 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 59 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความแข็งแรงยึดดึงในการซ่อมแซมวัสดุเรซินคอมโพสิตโดย เปรียบเทียบระหว่างการใช้สารยึดติดชนิดต่างๆเตรียมชิ้นทดสอบเรซินคอมโพสิตทรงกระบอก (เส้นผ่าน ศูนย์กลาง 4.5 มิลลิเมตร สูง 4 มิลลิเมตร) จำนวน 100 ชิ้น แบ่งออกเป็นสองกลุ่มเท่า ๆ กัน ได้แก่ กลุ่มที่นำไป ซ่อมแซมทันทีและกลุ่มที่จำลองอายุการใช้งาน โดยใช้เครื่องควบคุมอุณหภูมิเป็นจังหวะ จำนวน 5,000 รอบ มีการเตรียมพื้นผิวด้วยเข็มกรอกากเพชรก่อนนำไปซ่อมแซม แล้วแบ่งทั้งสองกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่มย่อยตามชนิด ของสารยึดติด ได้แก่ 1) สก็อตช์บอนด์มัลติเพอโพส 2) ซิงเกิลบอนด์ทู3) เคลียร์ฟิลเอสอีบอนด์ 4) ซิงเกิล บอนด์ยูนิเวอร์แซล และ 5) ออลบอนด์ยูนิเวอร์แซล แล้วอุดซ่อมแซมด้วย เรซินคอมโพสิต นำไปแช่ ในน้ำกลั่น อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ก่อนตัดชิ้นงานจนเกิด ชิ้นทดสอบรูปแท่ง หน้าตัดสี่เหลี่ยม โดยมีขนาดของพื้นที่หน้าตัด 1 x 1 มิลลิเมตร สูง 8 มิลลิเมตร แล้วนำไปทดสอบความแข็งแรงยึดดึงระดับ จุลภาคด้วยเครื่องทดสอบแรงดึง วิเคราะห์ผลทางสถิติด้วยการทดสอบ ความแปรปรวนแบบทางเดียว โดย เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติการทดสอบของบอนเฟอร์โรนี ที่ความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 ผลการศึกษาพบว่าการใช้สารยึดติดในกลุ่มที่ 1, 3, 4 และ 5 ในการซ่อมแซมเรซินคอมโพสิตใหม่ ให้ค่าความ แข็งแรงยึดดึงระดับจุลภาคที่ไม่ต่างกันทางสถิติ (p ≥ 0.05) ยกเว้นกลุ่มที่ 2 ให้ค่าที่ต่ำกว่ากลุ่มอื่นๆอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ในกลุ่มที่ผ่านการจำลองอายุการใช้งาน พบว่ากลุ่มยูนิเวอร์แซลแอดฮีซีฟ (4 และ 5) มีค่าความแข็งแรงยึดดึงระดับจุลภาคมากกว่ากลุ่มที่ 1, 2 และ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยที่ กลุ่มที่ 1 มีค่าน้อยที่สุด (p < 0.05) และพบว่าการจำลองอายุการใช้งานเรซินคอมโพสิตโดยวิธีนี้ ทำให้ความ แข็งแรงยึดดึงระดับจุลภาคลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกกลุ่ม (p < 0.05) ผลการศึกษา การใช้สาร ยึด ติดในการซ่อมแซม เรซินคอมโพสิตให้ผลความแข็งแรงยึดดึงระดับจุลภาคที่มีความแตกต่างกันระหว่างชนิด ของสารยึดติดและอายุของเรซินคอมโพสิต โดยในกลุ่มเรซินคอมโพสิตใหม่ให้ค่าความแข็งแรงยึดดึงระดับ จุลภาคในสารยึดติดชนิดต่าง ๆ มีค่าใกล้เคียงกัน ยกเว้นกลุ่มซิงเกิลบอนด์ทูซึ่งให้ค่าน้อยกว่าทุกกลุ่ม ในกลุ่ม เรซินคอมโพสิตที่ผ่านการจำลองการใช้งานมาแล้ว พบว่าค่าความแข็งแรงยึดดึงระดับจุลภาคลดลง ในทุกกลุ่ม ของสารยึดติด และการใช้ซิงเกิลบอนด์ยูนิเวอร์แซล และออลบอนด์ยูนิเวอร์แซล ให้ค่าความแข็งแรงยึดดึง ระดับจุลภาคมากกว่าการใช้สารยึดติดชนิดอื่นๆ 
ผู้เขียน
605130011-0 น.ส. อนุรัชนี อนุสสรราชกิจ [ผู้เขียนหลัก]
คณะทันตแพทยศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 15