2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title วาทกรรมเต่างอย : การประดิษฐ์สร้างและการทับซ้อนบนพื้นที่วัฒนธรรม 
Date of Distribution 28 August 2020 
Conference
     Title of the Conference ศิลปกรรมวิจัย ประจำปี 2563 โลกเปลี่ยนศิลป์เปลี่ยนโลก 
     Organiser คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Conference Place ผ่านช่องทาง Zoom meeting และเว็บไซต์การประชุม https://far.kku.ac.th 
     Province/State ขอนแก่น 
     Conference Date 28 August 2020 
     To 29 August 2020 
Proceeding Paper
     Volume
     Issue
     Page 506-518 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของเต่างอย ความเป็นมาของวาทกรรมเต่างอย การประดิษฐ์สร้างวัฒนธรรมและการทับซ้อนบนพื้นที่ทางวัฒนธรรม ตำบลเต่างอย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร ด้วยการวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามเชิงปริมาณ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมในการเก็บข้อมูลภาคสนามและนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณาวิเคราะห์ ผลการศึกษา พบว่า “เต่า” มีความสำคัญในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของมนุษย์ ในเชิงสัญลักษณ์เต่าเป็นสัญลักษณ์แทนความหมายอยู่หลากหลาย เช่น ความเชื่องช้า ความอุดมสมบูรณ์ ความโชคดี ความกตัญญู พระนารายณ์ พระพุทธเจ้าองค์ที่ 3 คือ พระกัสสโป ในตำนานพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ จากการเก็บข้อมูลภาคสนามในพื้นที่วิจัยตำบลเต่างอย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร พบคำว่า “เต่างอย” ปรากฏอยู่ในประวัติหมู่บ้านทั้ง 7 หมู่บ้านและมีความสัมพันธ์กับชื่อหมู่บ้านอยู่ 2 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านโคกงอย หมู่ 3 และบ้านนางอย หมู่ 4 ซึ่งคนในหมู่บ้านได้อธิบายคำว่า “เต่า” หมายถึง หมายถึง สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำชนิดหนึ่ง และ “งอย” หมายถึง การเกาะ การจับ การนั่งหรือยืนบนที่สูงกว่า วาทกรรมเต่างอยในความเข้าใจของคนในหมู่บ้านมีที่มาจากเรื่องเล่าอยู่ 2 เรื่อง ได้แก่ เตาตีเหล็กและเต่างอยริมน้ำพุง ในขณะที่วาทกรรมเต่างอยในความเข้าใจของคนนอกชุมชนโดยส่วนมากเข้าใจคำว่า “เต่างอย” หมายถึง หน้าผารูปเต่า รองลงมาคือ รูปปั้นเต่า (พญาเต่างอย) และเพลงของจินตรา พูนลาภ และพบการประดิษฐ์วัฒนธรรมทั้งสิ้น 6 อย่าง ได้แก่ ผาพญาเต่างอย รูปปั้นพ่อปู่กัสสโป รูปปั้นพญาเต่างอย พระธาตุเจดีย์กัสสปะชยมงคล เครื่องบูชาพญาเต่างอย และวัตถุมงคล ซึ่งส่งผลให้เกิดการทับซ้อนบนพื้นที่ทางวัฒนธรรมของตำบลเต่างอย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร อยู่ 2 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ศาลปู่ตากุดนาแซงกับพญาเต่างอยและพื้นที่วัดศิริมังคละเต่างอยกับพระธาตุเจดีย์กัสสปะชยมงคล ข้อเสนอแนะในการวิจัย หน่วยงานปกครองท้องถิ่นสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการจัดทำข้อมูลพื้นฐานของชุมชุนได้ หน่วยงานทางการศึกษาสามารถนำข้อมูลไปต่อยอดเพื่อจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนในท้องถิ่นได้ และหน่วยงานทางวัฒนธรรมสามารถนำความรู้จากงานวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานทางด้านวัฒนธรรมได้ 
Author
605220008-8 Miss CHUTIMA PHULAWAN [Main Author]
Fine and Applied Arts Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Poster 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0