2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การศึกษาความเป็นไปได้ของการปลูกถั่วเหลืองนอกฤดูในสถานีทดลอง เพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ The feasibility study for off-season soybean production in research station for seed production 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 18 ธันวาคม 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารแก่นเกษตร 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN การศึกษาความเป็นไปได้ของการปลูกถั่วเหลืองนอกฤดูในสถานีทดลอง เพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ The feasibility study for off-season soybean production in research station for seed production 
     ปีที่ 49 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฏาคม-สิงหาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า 87-104 
     บทคัดย่อ เมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองจัดว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในการผลิตถั่วเหลือง ในปัจจุบันพันธุ์ถั่วเหลืองที่นิยมนำมาปลูกมี จำนวนน้อยและมีความจำเพาะกับสภาพแวดล้อม ทำให้ระบบการปลูกมีข้อจำกัดและเมล็ดพันธุ์มีไม่เพียงพอ ดังนั้นการทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบศักยภาพการเจริญเติบโต ผลผลิตและคุณภาพเมล็ด ของสายพันธุ์ถั่วเหลืองในระบบการปลูกถั่วเหลืองนอกฤดู เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนอกฤดูการทดลองครั้งนี้ได้นำสายพันธุ์ถั่วเหลืองอายุเก็บเกี่ยวสั้น อายุเก็บเกี่ยวปานกลาง และอายุเก็บเกี่ยวยาว จำนวน 20 สายพันธุ์ คือ NS1,CM60, SJ5, Khon Kaen, 44*Ly-4E, 44*Ly-14E, 40*Ly-15, 42*Ly-50-2, 44*Ly-6-1-2-7, 44*Lh-4, 38D*a-16,KKU74, KKU5e, 74-T4, 223*Lh-85, 76*B-14-1-3, 35*m-4, 35* Lh–7, 35*SJ-32 และ KKU35 มาปลูกทดสอบศักยภาพการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพเมล็ด ทำการปลูกในฤดูแล้ง และฤดูฝน ปีพ.ศ. 2559 ที่แปลงทดสอบมหาวิทยาลัยขอนแก่น และศูนย์วิจัยพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชขอนแก่น จากการศึกษาในครั้งนี้พบว่า ถั่วเหลืองสายพันธุ์ KKU74และ 223*Lh-85 เป็นสายพันธุ์ถั่วเหลืองอายุเก็บเกี่ยวปานกลางที่ให้ผลผลิตที่ค่อนข้างสูง มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 206.9 –239.5 กิโลกรัม/ไร่ ทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝนที่ปลูกทดลองนอกฤดูปลูก จึงเป็นสายพันธุ์ที่มีความเป็นไปได้ในการปลูกถั่วเหลืองในช่วงดังกล่าวเพื่อขยายเมล็ดพันธุ์ก่อนการปลูกในฤดูกาลปกติแต่ต้องควบคุม และเฝ้าระวังการระบาดของแมลงในช่วงที่มีการระบาดรุนแรง อย่างไรก็ตาม การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาศักยภาพสายพันธุ์ถั่วเหลืองนอกฤดูปลูกซึ่งอาจทำให้ถั่วเหลืองแต่ละสายพันธุ์ให้ผลผลิตไม่ตรงตามศักยภาพของสายพันธุ์ ดังนั้นการทดสอบเปรียบเทียบในฤดูปลูกที่แตกต่างกัน และหลากหลายสถานที่จึงจำเป็นสำหรับการประเมินศักยภาพก่อนส่งเสริมการปลูกถั่วเหลืองแก่เกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่อไปในอนาคต 
     คำสำคัญ เชียงใหม่ 60; ความสูงฝักแรก; พืชใช้น้ำน้อย; พืชหมุนเวียน; ไรแมงมุม 
ผู้เขียน
595030009-3 น.ส. ชมพูนุช ศรีทองแท้ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0