2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การเจือถ่านกัมมันต์เศษไม้ยูคาลิปตัสด้วยโมโนเอทาโนลามีน เพื่อเพิ่มความสามารถในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 17 กรกฎาคม 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิศวกรรมฟาร์ม และเทคโนโลยีการควบคุมอัตโนมัติ  
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น 40002 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ ึ7 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฏาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษานี้ได้มุ่งพัฒนาตัวดูดซับก๊าคาร์บอนไดออกไซด์จากกากชีวมวล โดยการนําเศษไม้ยูคาลิปตัส ปริมาณ 20 กรัม มาแช่กระตุ้นภายใต้คลื่นอัลตร้าโซนิคในสารละลาย กรดฟอสฟอริคความเข้มข้น 3 และ 6 โมลาร์ ปริมาตร 160 มิลลิลิตร เป็นเวลา 45 นาที แล้วนําไปคาร์บอนไนเซชันที่ 450 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ภายใต้บรรยากาศก๊าซเฉื่อย พบว่า ถ่านกัมมันต์ที่ได้จากการกระตุ้นด้วยกรดฟอสฟอริคความเข้มข้น 3 โมลาร์ มีพื้นที่ผิวจําเพาะสูงถึง 1,330 ตารางเมตรต่อกรัม และมีโครงสร้างรูพรุนขนาดกลางเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นถ่านกัมมันต์นี้จึงได้ถูกคัดเลือกมาพัฒนาใช้เป็นตัวดูดซับโดยนํามาเจือสารโมโนเอทาโนลามีนที่ความเข้มข้น 10-50 เปอร์เซ็นต์โดยนํ้าหนัก ทั้งนี้ได้มีการเปรียบเทียบผลของวิธีการสองแบบ คือ วิธีการเจือแบบการต้มเคี่ยวด้วยเพลทให้ความร้อน และวิธีการเจือแบบแช่ผสมเขย่าร่วมคลื่นอัลตร้าโซนิค ที่มีต่อสมบัติของตัวดูดซับ พบว่า ตัวดูดซับมีพื้นที่ผิวจําเพาะ ขนาดรูพรุน และ ปริมาตรรูพรุนรวม มีค่าลดลงตามความเข้มข้นของสารเจือ ทั้งนี้ การใช้วิธีการเจือแบบแช่ผสมเขย่าร่วมคลื่นอัลตร้าโซนิคให้ผลของการลดลงสมบัติเหล่านี้น้อยกว่าวิธีการเจือแบบต้มให้ความร้อน ตัวดูดซับที่มีความสามารถในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุด คือตัวดูดซับที่ได้จากการเจือสารโมโนเอทาโนลามีนความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์โดยนํ้าหนัก ด้วยการใช้วิธีการเจือแบบแช่ผสมเขย่าร่วมคลื่นอัลตร้าโซนิคให้ค่าเป็น 59.67 มิลลิโมลต่อกรัม 
     คำสำคัญ ตัวดูดซับ คาร์บอนไดออกไซด์ ยูคาลิปตัส โมโนเอทาโนลามีน อัลตร้าโซนิค 
ผู้เขียน
615040046-3 น.ส. อรอนงค์ ศรีขาว [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0