2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การพัฒนารูปแบบการสอนรายวิชาช่างไม้เครื่องเรือน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนปทุมรัตต์พิทยาคม อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 24 สิงหาคม 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 11 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม 2565
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนรายวิชาช่างไม้เครื่องเรือน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนปทุมรัตต์พิทยาคมอำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด ที่เรียนในรายวิชาช่างไม้เครื่องเรือน จำนวน 56 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1)แผนการจัดการเรียนรู้ที่ยึดรูปแบบการสอนรายวิชาช่างไม้เครื่องเรือนที่พัฒนาขึ้น 2)แบบประเมินผลการเรียนรู้ 3)แบบทดสอบหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ เกณฑ์ประสิทธิภาพของรูปแบบการสอน (E1/ E2) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นใช้แนวคิด การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองการสร้างองค์ความรู้โดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน การสอนปฏิบัติและการสอนแบบทดลอง หลักการเน้นผู้เรียนศูนย์กลาง เชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้และประสบการณ์เดิม เรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม ผลิตผลงานและจัดนิทรรศการ โดยผู้สอนสร้างบรรยากาศสนับสนุนการเรียนรู้ และช่วยเหลือผู้เรียน เป้าหมาย ให้ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพโดยใช้ข้อมูลที่ศึกษาด้วยตนเองและมีทักษะในศตวรรษที่ 21 กระบวนการจัดการเรียนการสอน แบ่งเป็น 6 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ศึกษาความพร้อมขั้นที่ 2 เรียนรู้ด้วยตนเอง ขั้นที่ 3 ครูสาธิต ขั้นที่ 4 ปฏิบัติงาน ขั้นที่ 5 สร้างสรรค์ผลงาน และขั้นที่ 6 จัดนิทรรศการ การหาประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (¯X = 4.70) และการนำรูปแบบการสอนการสอนที่พัฒนาขึ้นไปใช้ในการสอนจริงพบว่ารูปแบบการสอนมีประสิทธิภาพ 85.36/80.13 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 
     คำสำคัญ การพัฒนารูปแบบการสอน รูปแบบการสอน รายวิชาช่างไม้เครื่องเรือน 
ผู้เขียน
605050069-4 นาย พจนพงษ์ ขจรภพ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0