2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ สภาพที่ จำเป็นต่อการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อ เสริมสร้างทักษะในการสื่อสารและการทำงานเป็นทีม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 28 พฤศจิกายน 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร  
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 15 
     ฉบับที่ 42 
     เดือน มกราคม-เมษายน 2566
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพที่จำเป็นต่อการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างทักษะในการสื่อสารและการทำงานเป็นทีม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนสังกัด สพป.เขต 5 และ สังกัด สพม.จังหวัดขอนแก่น จำนวน 390 คน ด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และผู้ให้ข้อมูล 22 คน ประกอบด้วย อาจารย์มหาวิทยาลัย สาขาเทคโนโลยีการศึกษา จำนวน 2 คน ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนภาษาอังกฤษระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ศึกษานิเทศก์ด้านภาษาอังกฤษและผู้ปกครองนักเรียน จำนวนอย่างละ 5 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเที่ยงตรงด้วยการคำนวณค่า IOC ระหว่าง 0.60-1.00 และค่าความเชื่อมั่นด้วยค่าสัมประสิทธฺ์แอลฟาเท่ากับ 0.92 และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI modified) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนส่วนใหญ่มีการใช้อินเทอร์เน็ตตั้งแต่ 1-6 ชั่วโมงต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 52.56 รองลงมา คือ 7-12 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 38.46 เชื่อมต่อโดยใช้สมาร์ทโฟนคิดเป็น ร้อยละ 89.74 ใช้งานแอปพลิเคชันหรือบริการต่าง ๆ คิดเป็นร้อยละ 100 ใช้ Facebook คิดเป็นร้อยละ 97.44 รองลงมา คือ Youtube คิดเป็นร้อยละ 91.28 และ Blogger มีการใช้น้อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ 1.03 ผลการศึกษาทำให้มั่นใจได้ว่า นักเรียนมีทักษะการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านแพลตฟอร์ม์ที่เอื้อต่อการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้านได้ 2. นักเรียนมีความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้ แบบร่วมมือโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และมีความคิดเห็นต่อสภาพที่คาดหวังโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3. อันดับความสำคัญของสภาพที่จำเป็นต่อการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ พบว่าด้านสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ มีดัชนีความต้องการจำเป็นสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการวัดและการประเมินผล และด้านผู้เรียนและผู้สอนตามลำดับ 4. การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษจะช่วยให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นและสนใจเรียนมากขึ้น การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ สามารถเสริมสร้างทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษ และการทำงานเป็นทีมที่จำเป็นต่อทักษะในศตวรรษที่ 21 ได้เป็นอย่างดี  
     คำสำคัญ การจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ ทักษะในการสื่อสารและการทำงานเป็นทีม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 
ผู้เขียน
607050023-2 น.ส. ณัฏฐณิกานต์ ทองโคตร [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0