2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยบูรณาการศาสตร์การสอนกับศาสตร์ทางประสาทวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 18 มกราคม 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กองบรรณาธิการ วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN ISSN 1905-9574 
     ปีที่ 16 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-มีนาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า  
     บทคัดย่อ บทความนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบและพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียน รูปแบบการวิจัย คือ การวิจัยโมเดล (Model Research) (Richey & Klein, 2007) โดยมีการวิจัย 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การพัฒนาโมเดล (Model Development) ระยะที่ 2 การตรวจสอบความตรงของโมเดล (Model Validation) ระยะที่ 3 การใช้โมเดล (Model Use) ผลการวิจัยพบว่า 1) การออกแบบและพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายฯ ที่มาจากการสังเคราะห์กรอบแนวคิดการออกแบบ มี 8 องค์ประกอบ คือ สถานการณ์ปัญหา, ศูนย์คลังความรู้, ศูนย์ชุมชนใกล้เคียง, ศูนย์การช่วยเหลือ, ศูนย์ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ, ศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้, ศูนย์เครื่องมือทางปัญญา และศูนย์ให้คำแนะนำ 2)การคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนที่เรียนด้วยโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายฯ พบว่าผู้เรียนทำแบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดเป็นร้อยละ 84.80 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายฯ คิดเป็นร้อยละ 83.87 ของคะแนนเต็ม ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80/80 4) ความสัมพันธ์ระหว่างการคิดอย่างมีวิจารณญาณกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน มีค่าสหสัมพันธ์เป็นบวกอยู่ที่ระดับ 0.844 (R = 0.844) 5) ความคิดเห็นของผู้เรียนที่เรียนด้วยโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายฯ พบว่า ด้านเนื้อหา ด้านสื่อ และด้านการออกแบบ ช่วยสนับสนุนส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 6)คลื่นไฟฟ้าของสมองของผู้เรียนขณะปฏิบัติภารกิจการคิดอย่างมีวิจารณญาณในห้องปฏิบัติการ พบว่า มีค่าเฉลี่ยของคลื่น alpha สูงกว่าขณะไม่ได้ปฏิบัติภารกิจ ที่ตำแหน่ง AF3, AF4, F3, F4, F7, และ F8 
     คำสำคัญ การเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์, การคิดอย่างมีวิจารณญาณ, ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ 
ผู้เขียน
607050008-8 น.ส. พิมพ์วลัญช์ นันทัยทวีกุล [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0