2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การประมาณค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะการให้ไข่ในไก่พื้นเมืองไทย(พันธุ์ประดู่หางดำ) 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 28 มิถุนายน 2559 
วารสาร
     ชื่อวารสาร แก่นเกษตร 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 44 
     ฉบับที่ พิเศษ2 
     เดือน มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2561 
     หน้า 386-394 
     บทคัดย่อ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ รวบรวมจากฟาร์มทดลองของศูนย์เครือข่ายวิจัยและพัฒนาด้านการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (ไก่พื้นเมือง) คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ลักษณะการให้ไข่ในไก่พื้นเมืองไทยพันธุ์ประดู่หางดำ จำนวน 616ตัว ชั่วรุ่นที่ 1 ถึง 5ประมาณค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมโดยการวิเคราะห์หลายลักษณะพร้อมกันด้วยวิธีการ REML ภายใต้โมเดลตัวสัตว์ (animal model) โดยใช้โปรแกรม BLUPF90 Chicken PAK2.5 ผลการศึกษาพบว่าค่าอัตราพันธุกรรม (h2) ของจำนวนครั้งการให้ผลผลิตไข่ (CN),ค่าเฉลี่ยของจำนวนวันให้ผลผลิตไข่ติดต่อกันในแต่ละชุดไข่ (AVG_CS),จำนวนครั้งที่หยุดไข่ (PN),ค่าเฉลี่ยของจำนวนวันหยุดไข่ชั่วคราวติดต่อกันในแต่ละชุดไข่ (AVG_PL)มีค่าปานกลางเท่ากับ 0.34±0.02, 0.41±0.03, 0.34±0.01และ 0.35±0.03ตามลำดับ การประมาณค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างจำนวนครั้งการให้ผลผลิตไข่(CN)กับค่าเฉลี่ยของจำนวนวันให้ผลผลิตไข่ติดต่อกันติดต่อกันในแต่ละชุดไข่ (AVG_CS), จำนวนครั้งที่หยุดไข่ (PN), และค่าเฉลี่ยของจำนวนวันหยุดไข่ชั่วคราวติดต่อกันในแต่ละชุดไข่ (AVG_PL)มีค่าเท่ากับ -0.15±0.02, 1.00±0.01และ -0.75±0.02 ตามลำดับค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างค่าเฉลี่ยของจำนวนวันให้ผลผลิตไข่ติดต่อกันติดต่อกันในแต่ละชุดไข่ (AVG_CS) กับจำนวนครั้งที่หยุดไข่ (PN),และค่าเฉลี่ยของจำนวนวันหยุดไข่ชั่วคราวติดต่อกันในแต่ละชุดไข่ (AVG_PL)มีค่าเท่ากับ -0.15±0.03 และ 0.34±0.03ตามลำดับ ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างจำนวนครั้งที่หยุดไข่ (PN) กับค่าเฉลี่ยของจำนวนวันหยุดไข่ชั่วคราวติดต่อกันในแต่ละชุดไข่ (AVG_PL)มีค่าเท่ากับ -0.75±0.03ค่าสหสัมพันธ์ของลักษณะปรากฎก็มีค่าใกล้เคียงกันกับค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมยกเว้นค่าสหสัมพันธ์ระหว่างค่าเฉลี่ยจำนวนวันหยุดไข่ชั่วคราวติดต่อกันในแต่ละชุดไข่(AVG_PL)กับจำนวนวันที่ให้ผลผลิตไข่ติดต่อกันติดต่อกันในแต่ละชุดไข่(AVG_CS)มีค่าสหสัมพันธ์ต่ำ 0.04±0.02และรูปแบบการให้ไข่ที่ให้ไข่สูงสุดในไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำมีรูปแบบของค่าเฉลี่ยระยะเวลาที่ให้ผลผลิตไข่ติดต่อกันติดต่อกันในแต่ละชุดไข่ (AVG_CS) อยู่ในช่วง2.01 ถึง3.24วัน และ มีรูปแบบของค่าเฉลี่ยของจำนวนวันหยุดไข่ชั่วคราวติดต่อกันในแต่ละชุดไข่ (AVG_PL) อยู่ในช่วง1.57 ถึง 2.64วัน ซึ่งจะได้ไข่สูงสุด 201ถึง 217ฟอง ตามลำดับ  
     คำสำคัญ ไก่ประดู่, พารามิเตอร์ทางพันธุกรรม, clutch traits 
ผู้เขียน
585030006-8 นาย ชาญณรงค์ สุขประเสริฐ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ
567030013-3 นาย สรรพสิทธิ แปลงแก้ว
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ
557030018-2 น.ส. สุพรรณี มุขพรหม
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0