2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ความสัมพันธ์ของอุณหภูมิกระเปาะแห้งและความร้อน การ ประเมินความเสี่ยงต่อการสัมผัสของความร้อน ในเกษตรกรทำงานกลางแจ้ง 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 19 พฤษภาคม 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมสัมมนาวิชาการครั้งที่ 30 ประจำปี 2565 ของสมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (ส.อ.ป.) 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (ส.อ.ป.) 
     สถานที่จัดประชุม Best Western Plus Wanda Grand Hotel 
     จังหวัด/รัฐ นนทบุรี 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 25 กันยายน 2566 
     ถึง 26 กันยายน 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 16-24 
     Editors/edition/publisher วารสารความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมของสมาคมอาชีวอนามัยและควำมปลอดภัยในการทำงาน 
     บทคัดย่อ เกษตรกรรมในประเทศไทยยังคงต้องใช้แรงงานในการดำเนินงานเกษตรจำนวนมาก ซึ่งกลุ่มเกษตรกรส่วนใหญ่ต้องสัมผัสกับแสงแดดโดยตรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้มีเสี่ยงต่อสุขภาพจากการสัมผัสความร้อน แต่การจะให้ได้มาซึ่งค่าความร้อนนั้นต้องใช้เครื่องมือตรวจวัดความร้อนด้วยอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ (WBGT) ซึ่งเป็นเครื่องมือตรวจวัดที่มีราคาสูงและมีข้อจำกัดในการใช้งาน การศึกษาในครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อการประเมินความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิของสภาพอากาศและความร้อนในพื้นที่เกษตรกรทำงานกลางแจ้งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งหมด 8 พื้นที่ จากการสุ่มพื้นที่เพื่อเก็บตัวอย่างในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 ช่วงเวลา คือ ธันวาคม พ.ศ.2563 – มกราคม พ.ศ.2564 และระหว่าง ธันวาคม พ.ศ. 2564 – เมษายน พ.ศ. 2565 ด้วยการตรวจวัดระดับความร้อน ด้วยอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ (WBGT) ในพื้นที่เพาะปลูกพืชทางการเกษตรและสังเกตกิจกรรมเพาะปลูก ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ ปลูกข้าว อ้อย และมันสำปะหลัง จากการตรวจวัดระดับความร้อนในการทำงาน พบอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบอยู่ระหว่าง 24.54 - 31.74 องศาเซลเซียส (ระดับ 1 ถึง ระดับ 2) และอุณหภูมิกระเปาะแห้งอยู่ระหว่าง 26.56 – 40.80 องศาเซลเซียส (ระดับ 1 ถึง ระดับ 4) ลักษณะกิจกรรมการเพาะปลูกส่วนใหญ่ จัดอยู่ในกลุ่มภาระงานหนัก (> 350 กิโลแคลอรี/ชั่วโมง หรือ ระดับ 3) ความเร็วลมเฉลี่ยอยู่ที่ 0.25 – 6.79 เมตร/วินาที ความชื้นสัมพัทธ์ 31.60% – 80.00% พบว่า ผลอุณหภูมิกระเปาะแห้งกับอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าความสัมพันธ์กันในทางบวกหรือมีความสัมพันธ์กันในลักษณะที่คล้อยตามกัน (r > 0.80) ทุกคู่ในพื้นที่การศึกษา ในการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพต่อการสัมผัสความร้อน โดยประเมินโอกาสสัมผัสความร้อนโดยอาศัยเมตริกระดับภาระงาน (ระดับภาระงานจากกิจกรรมเพาะปลูก) กับระดับอุณหภูมิ (อุณหภูมิกระเปาะแห้งเปรียบเทียบกับค่าอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ) พบว่า โอกาสสัมผัสความร้อนจากการใช้อุณหภูมิกระเปาะแห้งกับโอกาสสัมผัสความร้อนอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าความสัมพันธ์กันในทางบวกหรือมีความสัมพันธ์กันในลักษณะที่คล้อยตามกัน (r > 0.90) ทุกคู่ในพื้นที่การศึกษา ส่วนใหญ่อยู่ในระดับโอกาสมากที่สุด (ระดับสูง ถึง ระดับสูงมาก) ดังนั้นอุณหภูมิกระเปาะแห้งที่สังเกตได้จากข้อมูลอุณหภูมิอากาศทั่วไปเป็นอีกทางเลือกที่เกษตรกรในพื้นที่กลุ่มตัวอย่างสามารถนำมาใช้เป็นตัวแทนอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบที่ต้องใช้ผลการตรวจวัดที่ยุ่งยากในเขตพื้นที่ตัวอย่าง เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการสัมผัสความร้อนในขั้นต้น จึงเสนอแนะให้มีการศึกษารูปแบบการประเมินความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยจากความร้อนด้วยตนเองของเกษตรกร โดยสามารถใช้อุณภูมิสภาพอากาศเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการประเมินเพื่อการวางแผนป้องกันตนเอง เพื่อลดโอกาสสัมผัสกับความร้อน หรือเพื่อบรรเทาอาการจากการเจ็บป่วยจากความร้อนในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการสัมผัสความร้อน และส่งเสริมให้มีการจัดทำโปรแกรมการเฝ้าระวังสุขภาพของเกษตรกรด้านโรคจากความร้อนในระยะยาวได้ต่อไป 
ผู้เขียน
635110082-2 นาย พิพัฒน์พงษ์ โลแก้ว [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ
625110065-1 น.ส. ทิพย์อัปษร วิชาทร
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0