2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา (The Development of Learning Model Promoting Scientific Argumentation in Secondary Science Classroom) 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 7 กรกฎาคม 2560 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร ฝ่ายวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN 1905-9574 
     ปีที่ 12 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฏาคม-กันยายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2561 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา ศึกษาคุณภาพและศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ แบ่งการดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบใช้การวิจัยเชิงสำรวจและการวิเคราะห์เอกสาร กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ครูจำนวน 95 คน และนักเรียนจำนวน 390 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ผลการสำรวจความรู้ความเข้าใจของครูและนักเรียนเกี่ยวกับการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ พบว่า ทั้งครูและนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบของการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ ด้านการสร้างข้อกล่าวอ้าง (Claim) อยู่ในระดับดี ระดับพอใช้ ระดับปรับปรุง และระดับดีมาก ตามลำดับ ส่วนองค์ประกอบอื่น ๆ ของการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่การให้หลักฐานสนับสนุน (Evidence) การให้เหตุผล (Reasoning) และ การโต้แย้งกลับที่ประกอบด้วยเหตุผลสนับสนุน (Supportive argument) อยู่ในระดับพอใช้ ทั้งครูและนักเรียน ระยะที่ 2 การตรวจสอบและปรับปรุงรูปแบบ ดำเนินการหาความตรงภายในโดยผู้เชี่ยวชาญ และหาความตรงภายนอกโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ จากผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการเรียนรู้ ระบบสนับสนุน ระบบสังคม และการวัดผลประเมินผล โดยกิจกรรมการเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอน คือ นำเข้าสู่ประเด็น กำหนดหัวข้อในการโต้แย้ง รวบรวมหลักฐาน สร้างการโต้แย้ง และ สื่อสารคำอธิบายไปยังผู้อื่น ผลการตรวจสอบความตรงภายนอก พบว่า รูปแบบการเรียนรู้สามารถพัฒนาความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนได้ ระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบ โดยใช้การวิจัยก่อนทดลอง พบว่า หลังจากเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  
     คำสำคัญ การโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์, กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์, ความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์  
ผู้เขียน
547050017-1 น.ส. เทียนทอง ดีรักษา [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0