2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ความรู้และพฤติกรรมการบริโภคขนมกรุบกรอบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในโรงเรียนรุ่งอรุณวิทยา อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 20 กรกฎาคม 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ ๗ “ประเทศไทย ๔.๐ นวัตกรรมสร้างสรรค์สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยศิลปากร 
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 20 กรกฎาคม 2560 
     ถึง 21 กรกฎาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ S558-S571 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ ปัญหาหลักในปัจจุบัน คือ การบริโภคขนมกรุบกรอบของเด็กในวัยเรียน ซึ่งจัดเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างมาก ในงานสาธารณสุขเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนของทุกมุมโลก รวมไปถึงในประเทศไทยด้วย เพราะในปัจจุบันเด็กไทยมีแนวโน้มภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในเด็กวัยรุ่น และวัยทำงาน แต่กลุ่มที่มีปัญหามากที่สุด คือ เด็กในวัยเรียน การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยศึกษาในกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนรุ่งอรุณวิทยา ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 311 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม ในระหว่างเดือนสิงหาคม 2559 ถึงเดือนมกราคม 2560 ในจำนวนนี้ วิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีการทางสถิติ คำนวณหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ หรือค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 61.1 ส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับบิดามารดาเป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 75.6 และมีรายได้เฉลี่ยต่อสัปดาห์ ต่ำกว่า 1,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 76.8 ส่วนใหญ่จะบริโภคขนมกรุบกรอบ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยถามย้อนหลัง 1 เดือน ส่วนใหญ่จะทราบความหมายของคำว่าขนมกรุบกรอบ คิดเป็นร้อยละ 92.3 และทราบว่า การรับประทานขนมกรุบกรอบมากจะทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ คิดเป็นร้อยละ 96.8 และทราบว่าการรับประทานขนมกรุบกรอบวันละหลายๆ ครั้งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง คิดเป็นร้อยละ 84.9 ส่วนใหญ่นักเรียนจะทราบว่า การรับประทานขนมกรุบกรอบไม่ทำให้ร่างกายแข็งแรง คิดเป็นร้อยละ 97.7 จากการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคขนมกรุบกรอบ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่จะไม่รับประทานขนมกรุบกรอบเป็นประจำ คิดเป็นร้อยละ 56.9 นักเรียนส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคขนมกรุบกรอบอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 55.6 และมีพฤติกรรมการบริโภคอยู่ในระดับพอใช้ คิดเป็นร้อยละ 56.6  
ผู้เขียน
585070048-8 น.ส. ศศิธร กองสกูล [ผู้เขียนหลัก]
คณะแพทยศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0