2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ คุณสมบัติการต้านออกซิเดชันของสารสกัดรำข้าวไฮโดรไลเซทจากแหล่งต่างๆ ด้วยวิธีการสกัดแบบน้ำด่างกึ่งวิกฤตร่วมกับการย่อยด้วยเอนไซม์  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 8 ธันวาคม 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ  
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม อาคารศูนย์เรียนรวม 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน 
     จังหวัด/รัฐ นครปฐม 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 7 ธันวาคม 2560 
     ถึง 8 ธันวาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 14 
     Issue (เล่มที่) ISBN : 978-616-278-410-1 
     หน้าที่พิมพ์ 2550-2557 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติการต้านออกซิเดชันของสารสกัดไฮโดรไลเซทจากรำข้าวจากแหล่งต่างๆ (รำข้าวหอมมะลิ 105 รำข้าวทับทิมชุมแพ และรำข้าวจากโรงงานอุตสาหกรรมน้ำมันรำข้าว) ด้วยวิธีการสกัดด้วยน้ำด่างสภาวะกึ่งวิกฤติร่วมกับการย่อยโดยใช้เอนไซม์ Protease G6 พบว่า สารสกัดไฮโดรไลเซทจากรำข้าวทับทิมชุมแพมีปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมด (87.14 มิลลิกรัมแกลลิก/กรัม) และค่ากิจกรรมการต้านออกซิเดชันด้วยวิธี FRAP (50.12 มิลลิกรัมโทรลอกซ์/กรัม) สูงที่สุด อย่างไรก็ตามสารสกัดไฮโดรไลเซทของรำข้าวจากโรงงานอุตสาหกรรมมีปริมาณโปรตีน (21.5%) และคุณสมบัติการต้านออกซิเดชันด้วยวิธี ABTS (232.4 มิลลิกรัมโทรลอกซ์/กรัม) สูงที่สุด นอกจากนี้ ยังพบว่า ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับกิจกรรมการต้านออกซิเดชันด้วยวิธี FRAP assay (R² = 0.661) (P<0.05) ดังนั้น สารสกัดไฮโดรไลเซทจากรำข้าวสายพันธุ์ต่างกันและผ่านกระบวนการสกัดน้ำมันที่ต่างกันมีองค์ประกอบและคุณสมบัติการต้านออกซิเดชันที่แตกต่างกัน ซึ่งมีศักยภาพเป็นสารกันหืนธรรมชาติและ/หรือใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์อาหาร และผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพได้  
ผู้เขียน
585160004-7 นาย พุทธพล ชาญฉลาด [ผู้เขียนหลัก]
คณะเทคโนโลยี ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0