2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ความเข้าใจเรื่องเศษส่วนของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ ที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 5 มิถุนายน 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม The 22nd Annual Meeting in Mathematics (AMM 2017) 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ศูนย์ส่งเสริมการวิจัยคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทย 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมโลตัส ปางสวนแก้ว 
     จังหวัด/รัฐ เชียงใหม่ 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 2 มิถุนายน 2560 
     ถึง 4 มิถุนายน 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2017 
     Issue (เล่มที่) 22 
     หน้าที่พิมพ์ EDM-36 
     Editors/edition/publisher ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ศูนย์ส่งเสริมการวิจัยคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทย 
     บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสํารวจความเข้าใจเรื่องเศษส่วนของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านมะอึ จังหวัดร้อยเอ็ด จํานวน 18 คน และกลุ่มเป้าหมายได้เรียนวิชาคณิตศาสตร์ในห้องเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด ซึ่งเป็นวิธีการที่เน้นให้นักเรียน แก้ปัญหาด้วยตนเอง เป็นระยะเวลา 3 ปีการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการบันทึกวีดิทัศน์ตามขั้นตอนวิธีการสอนแบบเปิด และข้อมูลจากแบบทดสอบความเข้าใจเรื่องเศษส่วน ผลการวิจัย พบวา นักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดมีความเข้าใจเรื่องเศษส่วน ดังนี้ 1) นักเรียนมีความสามารถในการรู้จําเศษส่วน (88.89%) นักเรียนสามารถบอกได้ว่าเศษส่วนเป็นส่วนย่อยของจํานวนที่น้อยกว่า 1 สามารถรู้จําลักษณะโครงสร้างพื้นฐานของเศษส่วนได้ 2) นักเรียนมีความสามารถในการให้คําจํากดความและคําอธิบายทางคณิตศาสตร์สําหรับเศษส่วน (47.22%) นักเรียนสามารถให้คําจํากดความหรืออธิบายในการทําความเข้าใจเศษส่วน นักเรียนอธิบายขนาดของเศษส่วนได้ และอธิบายได้ว่าระหว่างจํานวนเต็มสองจํานวนมีเศษส่วนอยู่ 3) นักเรียนมีความสามารถในการโต้แย้งและการให้เหตุผลเกี่ยวกับเศษส่วน (8.33%) นักเรียนสามารถตัดสินใจเกี่ยวกบคุณสมบัติ ขนาด การเปลี่ยนแปลงของเศษส่วนวาเป็นจริงหรือเท็จได้ และสามารถโต้แย้งหรือให้เหตุผลในการอธิบายเกี่ยวกบการตัดสินใจนั้นได้ 4) นักเรียนมีความสามารถในการบอกความสัมพันธ์เชิง ขนาดของเศษส่วน (33.33%) นักเรียนสามารถเปรียบเทียบเศษส่วนสองจํานวนได้ 5) นักเรียนมีความสามารถในการแสดงแทนของเศษส่วน (52.78%) 6) นักเรียนมีความสามารถในการเชื่อมโยงเศษส่วนกับทศนิยม ร้อยละและการหาร (47.22%) 7) นักเรียนมีความสามารถในการสะท้อนผลให้เห็นในระหวางแก้ปัญหาเศษส่วน (47.22%) คือ นักเรียนสามารถให้เหตุผลเกี่ยวกบวิธีการคิดและหาคําตอบของพวกเขาในขณะที่แก้ปัญหาเศษส่วนได้ นักเรียนสามารถหาข้อสนับสนุนให้กับคําตอบในปัญหาเศษส่วนได้ และนักเรียนสามารถตรวจสอบว่าคําตอบของปัญหาเศษส่วนที่ได้รับมีความถูกต้องหรือไม่ถูกต้องได้  
ผู้เขียน
575050048-9 น.ส. ลักษณา ต้นจันทร์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0