2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลของการใช้ตัวแบบ การชี้แนะด้วยวาจา และการเสริมแรงทางสังคม ต่อพฤติกรรมเหม่อลอยของเด็กที่มีภาวะออทิสซึม 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 29 เมษายน 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 13 
     ฉบับที่
     เดือน เมษายน-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ตัวแบบ การชี้แนะด้วยวาจา และการเสริมแรงทางสังคม ต่อพฤติกรรมเหม่อลอยของเด็กที่มีภาวะออทิสซึม กลุ่มเป้าหมายการวิจัยในครั้งนี้ คือ เด็กที่มีภาวะออทิสซึมที่มารับบริการที่ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 9 จังหวัดขอนแก่น ด้วยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 3 คน อายุระว่าง 8-12 ปี ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีภาวะออทิสซึม มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในชั้นเรียน คือ เหม่อลอย โดยได้รับการยินยอมจากผู้ปกครองในการเข้าร่วมการวิจัย ในระหว่างวันที่ 21 สิงหาคม 2561 ถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกพฤติกรรมเหม่อลอยและแผนการสอนเฉพาะบุคคล (IIP) จำนวน 5 แผน โดยผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบกลุ่มเดียว (Single Subject Design) แบบวิจัย A-B-A Design ซึ่งประกอบด้วย 3 ระยะ ได้แก่ ระยะเส้นฐาน (A1) ระยะให้ตัวแปรจัดกระทำ (B) และระยะระงับการให้ตัวแปรจัดกระทำ (A2) วิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และนำเสนอโดยใช้กราฟเส้น ผลการวิจัย พบว่า การใช้ตัวแบบ การชี้แนะด้วยวาจา และการเสริมแรงทางสังคม สามารถลดพฤติกรรมเหม่อลอยของเด็กที่มีภาวะออทิสซึมทั้ง 3 คน โดย เด็กที่มีภาวะออทิสซึมคนที่ 1 มีความถี่ของพฤติกรรมเหม่อลอยโดยเฉลี่ย คือ ระยะเส้นฐาน (A1) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 12.1 ครั้ง ระยะให้ตัวแปรจัดกระทำ (B) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.9 ครั้ง และระยะระงับการให้ตัวแปรจัดกระทำ (A2) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.2 ครั้ง เด็กที่มีภาวะออทิสซึมคนที่ 2 มีความถี่ของพฤติกรรมเหม่อลอยโดยเฉลี่ย คือ ระยะเส้นฐาน (A1) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 13.33 ครั้ง ระยะให้ตัวแปรจัดกระทำ (B) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.15 ครั้ง และระยะระงับการให้ตัวแปรจัดกระทำ (A2) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11.9 ครั้ง และเด็กที่มีภาวะออทิสซึมคนที่ 3 มีความถี่ของพฤติกรรมเหม่อลอยโดยเฉลี่ย คือ ระยะเส้นฐาน (A1) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11.8 ครั้ง ระยะให้ตัวแปรจัดกระทำ (B) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.85 ครั้ง และระยะระงับการให้ตัวแปรจัดกระทำ (A2) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 10.8 ครั้ง  
     คำสำคัญ เด็กที่มีภาวะออทิสซึม, พฤติกรรมเหม่อลอย, ตัวแบบ, การชี้แนะด้วยวาจา, การเสริมแรงทางสังคม 
ผู้เขียน
595050217-4 น.ส. อารีรัตน์ เข็มภูเขียว [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0