2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลของการเล่นเกมบันไดงูภายในครอบครัวเพื่อเพิ่มทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ในเด็กอนุบาลที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 27 กันยายน 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม INTERNATIONAL CONFERENCE ON EDUCATIONAL RESEARCH (ICER 2019) 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม KHON KAEN UNIVERSITY 
     สถานที่จัดประชุม FACULTY OF EDUCATION KHON KAEN UNIVERSITY  
     จังหวัด/รัฐ THAILAND 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 25 กันยายน 2562 
     ถึง 27 กันยายน 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2019 
     Issue (เล่มที่) 12 
     หน้าที่พิมพ์ 402 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ เด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม มีความบกพร่องด้านการสื่อสารทางสังคมและด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ส่วนหนึ่งจะมีทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่อ่อนแรงและทำงานไม่ประสานกัน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเกมบันไดงูภายในครอบครัวที่มีต่อการเพิ่มทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ในเด็กอนุบาลที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม และประเมินทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กอนุบาลที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม ก่อนและหลัง การเล่นเกมบันไดงูภายในครอบครัว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เด็กอนุบาลที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม ในศูนย์วิจัยออทิสติก โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มอดินแดง) ฝ่ายการศึกษาพิเศษ จำนวน 1 คน และรับการบำบัดในศูนย์การศึกษาพิเศษ เขต 9 จังหวัดขอนแก่น จำนวน 2 คน รวมทั้งหมด 3 คน ที่มีช่วงอายุระหว่าง 4-6 ปี และได้รับการวินิจฉัยโดยจิตแพทย์เด็กแล้วว่าเป็นเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม การวิจัยนี้ได้ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เลขที่ HE623049 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ผู้ปกครอง แบบสังเกตพฤติกรรมของเด็กอนุบาลที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม แบบประเมินทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กอนุบาลที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม และ เกมบันไดงูภายในครอบครัวที่มีคำแนะนำในการเล่นเกมอย่างเป็นแบบฉบับ ผลการวิจัยพบว่า (1) เกมบันไดงูภายในครอบครัวได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญทั้งทางกายภาพบำบัดและทางการศึกษาพิเศษ ว่าเป็นเกมที่ใช้ได้กับเด็กอนุบาลที่มีภาวออทิซึมสเปกตรัมโดยให้เล่นซ้ำ ๆ วันละ 1 ชั่วโมง เล่น 3 วันต่อสัปดาห์ รวม 15 ครั้ง อยู่ภายใต้การกำกับของนักวิจัยภายหลังการเล่นเกมบันไดงู เมื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดสอบโดยใช้แบบประเมินทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ พบว่า เด็กอนุบาลที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม ที่ผ่านการเล่นเกมบันไดงูภายในครอบครัว มีทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ในระดับที่เพิ่มขึ้น (2) จากการเปรียบเทียบทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กอนุบาลที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม ก่อนและหลังการเล่นเกมบันไดงูภายในครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบประเมินทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ พบว่าทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กอนุบาลที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม หลังจากการเล่นเกมบันไดงูภายในครอบครัวสูงขึ้น  
ผู้เขียน
605050193-3 น.ส. พิศตะวัน มาตสีดา [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ นานาชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0