2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ วาทกรรมเต่างอย : การประดิษฐ์สร้างและการทับซ้อนบนพื้นที่วัฒนธรรม 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 28 สิงหาคม 2563 
การประชุม
     ชื่อการประชุม ศิลปกรรมวิจัย ประจำปี 2563 โลกเปลี่ยนศิลป์เปลี่ยนโลก 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม ผ่านช่องทาง Zoom meeting และเว็บไซต์การประชุม https://far.kku.ac.th 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 28 สิงหาคม 2563 
     ถึง 29 สิงหาคม 2563 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 506-518 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของเต่างอย ความเป็นมาของวาทกรรมเต่างอย การประดิษฐ์สร้างวัฒนธรรมและการทับซ้อนบนพื้นที่ทางวัฒนธรรม ตำบลเต่างอย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร ด้วยการวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามเชิงปริมาณ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมในการเก็บข้อมูลภาคสนามและนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณาวิเคราะห์ ผลการศึกษา พบว่า “เต่า” มีความสำคัญในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของมนุษย์ ในเชิงสัญลักษณ์เต่าเป็นสัญลักษณ์แทนความหมายอยู่หลากหลาย เช่น ความเชื่องช้า ความอุดมสมบูรณ์ ความโชคดี ความกตัญญู พระนารายณ์ พระพุทธเจ้าองค์ที่ 3 คือ พระกัสสโป ในตำนานพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ จากการเก็บข้อมูลภาคสนามในพื้นที่วิจัยตำบลเต่างอย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร พบคำว่า “เต่างอย” ปรากฏอยู่ในประวัติหมู่บ้านทั้ง 7 หมู่บ้านและมีความสัมพันธ์กับชื่อหมู่บ้านอยู่ 2 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านโคกงอย หมู่ 3 และบ้านนางอย หมู่ 4 ซึ่งคนในหมู่บ้านได้อธิบายคำว่า “เต่า” หมายถึง หมายถึง สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำชนิดหนึ่ง และ “งอย” หมายถึง การเกาะ การจับ การนั่งหรือยืนบนที่สูงกว่า วาทกรรมเต่างอยในความเข้าใจของคนในหมู่บ้านมีที่มาจากเรื่องเล่าอยู่ 2 เรื่อง ได้แก่ เตาตีเหล็กและเต่างอยริมน้ำพุง ในขณะที่วาทกรรมเต่างอยในความเข้าใจของคนนอกชุมชนโดยส่วนมากเข้าใจคำว่า “เต่างอย” หมายถึง หน้าผารูปเต่า รองลงมาคือ รูปปั้นเต่า (พญาเต่างอย) และเพลงของจินตรา พูนลาภ และพบการประดิษฐ์วัฒนธรรมทั้งสิ้น 6 อย่าง ได้แก่ ผาพญาเต่างอย รูปปั้นพ่อปู่กัสสโป รูปปั้นพญาเต่างอย พระธาตุเจดีย์กัสสปะชยมงคล เครื่องบูชาพญาเต่างอย และวัตถุมงคล ซึ่งส่งผลให้เกิดการทับซ้อนบนพื้นที่ทางวัฒนธรรมของตำบลเต่างอย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร อยู่ 2 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ศาลปู่ตากุดนาแซงกับพญาเต่างอยและพื้นที่วัดศิริมังคละเต่างอยกับพระธาตุเจดีย์กัสสปะชยมงคล ข้อเสนอแนะในการวิจัย หน่วยงานปกครองท้องถิ่นสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการจัดทำข้อมูลพื้นฐานของชุมชุนได้ หน่วยงานทางการศึกษาสามารถนำข้อมูลไปต่อยอดเพื่อจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนในท้องถิ่นได้ และหน่วยงานทางวัฒนธรรมสามารถนำความรู้จากงานวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานทางด้านวัฒนธรรมได้ 
ผู้เขียน
605220008-8 น.ส. ชุติมา ภูลวรรณ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0