2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ “การคัดแยกแบคทีเรียแลคติกที่ผลิตเอ็กโซพอลิแซกคาไรด์จากทางเดินอาหารสัตว์และอาหารหมักพื้นบ้านของไทย 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 6 พฤษภาคม 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารสัตวแพทย์ มข. 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN 2672-9466  
     ปีที่ 30 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม – มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า
     บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ เพื่อคัดเลือกแบคทีเรียแลคติกจากทางเดินอาหารสัตว์และอาหารหมักพื้นบ้านที่มีคุณสมบัติเป็นโปรไบโอติกและผลิตสาร Exopolysaccharides (EPS) เพื่อนำมาใช้ในการเลี้ยงสัตว์และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารหมัก วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ทำการคัดเลือกแบคทีเรียแลคติกโดยการทดสอบคะตะเลส ทดสอบการทนต่อกรด และด่าง ทดสอบการทนต่อน้ำดี ทดสอบการต้านยาปฏิชีวนะ ทดสอบการยับยั้งเชื้อก่อโรค และทดสอบการผลิตสาร EPS ด้วยวิธี phenol sulphulic method ผลการศึกษา ทำการคัดแยกแบคทีเรียแลคติกจากตัวอย่าง 5 กลุ่ม ได้แก่ ทางเดินอาหารสุกร ทางเดินอาหารไก่ แหนมหมู หม่ำ และปลาส้ม พบแบคทีเรียแลคติกจำนวน 152, 161, 160, 174 และ 158 ตามลำดับ มี 761 ไอโซเลท ที่ให้ผลเป็นลบต่อการสร้างเอนไซม์คะตะเลส มีความทรต่อกรด และด่าง ที่ pH 2, 4 และ pH 10 เป็นเวลา 3 และ 6 ชั่วโมง มีจำนวน 179 และ 176 ไอโซเลท ตามลำดับ และแบคทีเรียที่คัดเลือกได้ทั้ง 176 ไอโซเลทพบการต้านยาปฏิชีวนะต่อ amoxicillin clavulanic acid, oxytetracycline, streptomycin, vancomycin และTrimethoprim-sulfamethoxazole คิดเป็นร้อยละ 4.54, 50.57, 65.34, 73.86 และ 68.18 ตามลำดับ เชื้อแบคทีเรียที่คัดเลือกได้จำนวน 78 ไอโซเลท พบการยับยั้งเชื้อก่อโรค E. coli ATCC 25923, S. Typhi และ Listeria monocytogenes ได้มาก คิดเป็นร้อยละ 5.12, 5.12 และ 8.97 ตามลำดับ และยับยั้งเชื้อเหล่านี้ได้ปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 60.25, 60.25 และ 76.92 ตามลำดับ แบคทีเรียที่คัดเลือกได้ไอโซเลท F3-3, N45-1, C57, และ M 60-3 มีการผลิตปริมาณน้ำตาล (EPS) มากที่สุด คือ 3.21, 2.54, 2.36 และ 2.11 กรัมต่อลิตร ตามลำดับ สรุป จากการผลการศึกษาของแบคทีเรียแลคติกที่คัดเลือกแล้ว 4 ไอโซเลท (F3-3, N45-1, C57, และ M 60-3) ที่มีความสามรถในการผลิต EPS ได้มากที่สุดจากไอโซเลททั้งหมด ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นสารเสริมในอาหารในการเลี้ยงสัตว์ และอุตสาหกรรมการผลิตอาหารหมักต่อไป  
     คำสำคัญ แบคทีเรียแลคติก, เอ็กโซพอลิแซ็กคาไรด์, อาหารหมัก 
ผู้เขียน
595180017-7 นาย ศุภกร ชนะภักดิ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะสัตวแพทยศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0